for all
well-being

Whizdom banner

REGISTER FORM

REGISTER FORM

ทีมนักวิจัย RISC แชร์งานวิจัย “Circular Economy” ให้กับวารสาร Plastics Foresight

Well-being
2 ปีที่แล้ว
  • MQDC
  • /
  • CSR
  • /
  • ทีมนักวิจัย RISC แชร์งานวิจัย “Circular Economy” ให้กับวารสาร Plastics Foresight
ทีมนักวิจัย RISC แชร์งานวิจัย “Circular Economy” ให้กับวารสาร Plastics Foresight

วันที่ 6 สิงหาคม 2564, กรุงเทพฯ - ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ให้สัมภาษณ์กับวารสาร Plastics Foresight จากสถาบันพลาสติก ถึงความสำคัญของ “Circular Economy” ที่เข้ามามีบทบาทในโครงการต่างๆ ของ MQDC เอาไว้อย่างน่าสนใจ 

ทีมนักวิจัย RISC แชร์งานวิจัย “Circular Economy” ให้กับวารสาร Plastics Foresight

วันที่ 6 สิงหาคม 2564, กรุงเทพฯ - ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ให้สัมภาษณ์กับวารสาร Plastics Foresight จากสถาบันพลาสติก ถึงความสำคัญของ “Circular Economy” ที่เข้ามามีบทบาทในโครงการต่างๆ ของ MQDC เอาไว้อย่างน่าสนใจ 

ที่ผ่านมา “Circular Economy” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแวดวง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “อสังหาริมทรัพย์” ที่เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายทรัพยากรในเวลาเดียวกัน การนำ “Circular Economy” มาใช้ จึงเป็นทางออกที่ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรของโลกใบนี้ได้คุ้มค่าอย่างยั่งยืน 

RISC เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับ Circular Economy ในกระบวนการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบ การก่อสร้าง และการจัดการ โดยที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและครบกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น... 

- โปรแกรมในการ "คัดแยกขยะตามบริบทพื้นที่" ที่จะถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ เพราะรูปแบบของขยะในแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการแยกขยะที่เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงของประเภทอาคารและคนใช้งานในพื้นที่เป็นเรื่องแรกที่ทำได้

- สร้างเครือข่ายกับพันธมิตร Supplier ต่างๆ ที่มีนโยบายสอดคล้องหรือมีพันธกิจที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเข้ามาร่วมกันจัดการกับปัญหา "ขยะจากกระบวนการก่อสร้าง" อาทิ คอนกรีต เหล็ก พลาสติกบรรจุภัณฑ์และพลาสติกห่อหุ้ม โดยขยะเหล่านี้จะถูกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้งในพื้นที่ ลดการนำขยะออกไปนอกไซต์ก่อสร้าง 

- การ "ร่วมสร้างนวัตกรรมใหม่ลดขยะ" เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและศึกษาร่วมกัน กับหน่วยงานภายนอกที่มีความหลากหลายจากภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือกันในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมใหม่ร่วมกัน เพื่อช่วยลดปัญหาขยะด้วยกันในทันที 

โดยปัจจุบันโครงการก่อสร้างภายใต้ MQDC มี การออกแบบโดยใช้ BIM ซึ่งช่วยในการออกแบบเพื่อลดปัญหาความผิดพลาดในการก่อสร้างและการคำนวณการใช้วัสดุจากการออกแบบเพื่อความคุ้มค่าและลดการเกิดเศษเหลือใช้ในกระบวนการก่อสร้าง จนทำให้เกิดขยะ พร้อมทั้งกำหนดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าจากการใช้มาตรฐานในเรื่องของอาคารสีเขียว (Green Building) เป็นตัวกำหนดเรื่องการบริหารจัดการขยะ การออกแบบพื้นที่คัดแยกเศษวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในระหว่างการดำเนินงาน ไปจนถึงการจัดการคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อนำทรัพยากรไปหมุนเวียนอย่างคุ้มค่าที่สุด ในโครงการของ MQDC พร้อมทั้งส่งเสริมการนำขยะพลาสติกบางประเภทที่อาจไม่คุ้มค่าต่อการนำไปรีไซเคิล มาทำการ Upcycling ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ไปพร้อม ๆ กับการตอบแทนชุมชน อย่างเช่น การนำวัสดุพลาสติกกันฝุ่นห่อหุ้มอาคารที่เหลือใช้จากการก่อสร้างอาคารของโครงการ Whizdom 101 มาให้ชาวบ้านในชุมชนระแวกนั้นตัดเย็บเป็นกระเป๋าชอปปิ้งที่ใช้ในส่วนกลาง เพื่อยืมใช้และนำกลับมาคืนภายในศูนย์การค้า

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนานำพลาสติกรีไซเคิลมาเป็นส่วนผสมหรือวัสดุทดแทนในผลิตภัณฑ์กลุ่มภายนอกอาคาร ทั้งทางเดินเท้า ขอบทางเท้า และถนนยางมะตอย ในหลายโครงการของ MQDC พร้อมเตรียมต่อยอดนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับการตกแต่งในที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น วัสดุตกแต่งอาคาร หรือเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ภาพรวมจากการวิจัยและพัฒนาวัสดุก่อสร้างจากพลาสติกรีไซเคิลของ RISC ที่ผ่านมาเราพบว่า การผสมพลาสติกรีไซเคิลลงไปในวัสดุก่อสร้างนั้นสามารถทำได้ และหากผสมในปริมาณที่เหมาะสมในบางผลิตภัณฑ์อาจช่วยให้คุณสมบัติของวัสดุดีขึ้นอีกด้วย นับเป็นการช่วยลดปริมาณขยะเหลือทิ้งได้ ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี 

แต่ยังมีปัญหาที่เป็นโจทย์สำคัญในการต่อยอดสู่กระบวนการเชิงพาณิชย์ในอนาคตให้สำเร็จ นั่นก็คือ ปัญหาของการจัดการและแยกขยะที่ถูกวิธี เพื่อให้สามารถแยกประเภทขยะออกมาเป็นวัสดุที่สามารถมาเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการนำไปใช้งานต่อนั้นยังไม่ถูกจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งทั้ง MQDC และ RISC กำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนเรื่อง Circular Economy ทั้งในด้านการพัฒนาโครงการและการวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรมหรือกระบวนการใหม่ที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาโครงการในอนาคตต่อไป