“ระบบนิเวศที่แท้จริงจะทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ดำรงอยู่ได้โดยธรรมชาติ”
การปลูกป่าแบบมิยาวากิเป็นการสร้างองค์ประกอบของระบบนิเวศให้สมบูรณ์ต้นไม้เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศเมื่อเติบโตขึ้นจะสร้างสายใยหลากหลายสายพันธุ์เป็นสังคมพืชที่สมบูรณ์ก่อให้เกิดเป็นป่าตามธรรมชาติเป็นที่ดำรงอยู่ของสัตว์ป่า” นี่เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการปลูกป่ามิยาวากิ(Miyawaki’ forests) โดยศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ(Prof.Dr. Akira Miyawaki) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับจากนักวิเวศวิทยาทั่วโลก
Eco Forests หรือป่ามิยาวากิคือป่าที่มนุษย์สร้างขึ้น เลียนแบบโครงสร้างป่าธรรมชาติเพื่อให้ได้ป่าภายในระยะเวลาอันสั้น ภายใน10 ปี โดยการปลูกด้วยกล้าในพื้นที่ 1 ตารางเมตรจะประกอบด้วยพรรณไม้ 4 ชั้นเรือนยอด คือพันธุ์ไม้ชั้นเรือนยอดสูงสุด (Tree1) พันธุ์ไม้ชั้นรอง (Tree2) ไม้พุ่ม (Shrub) และไม้คลุมดิน (Herb) ซึ่งเป็นลำดับชั้นตามโครงสร้างป่าธรรมชาติที่แท้จริงแตกต่างจากการปลูกป่าเชิงเดียวหรือการจัดสวนป่าอย่างที่พบเห็นได้ตามสถานที่ต่างๆความสวยงามของป่ามิยาวากิจึงเป็นการสร้างความสมบูรณ์ของต้นไม้ที่ไล่ระดับสูงต่ำเหมือนป่าธรรมชาติไม่เป็นระเบียบแบบแผน ไม่เป็นเส้นตรง ไม่เป็นแถวเป็นแนวแต่ให้ความร่มรื่นร่มเย็นในแบบที่ป่ามอบให้มนุษย์
นอกจากการสร้างระบบนิเวศเพื่อให้เกิดความสมดุลในพื้นที่ 1 ตารางเมตรอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการปลูกป่ามิยาวากิคือ “พันธุ์ไม้ท้องถิ่น” ที่ต้องเป็นพันธุ์ไม้สังคมเดียวกัน ของพื้นที่นั้นๆ ตามธรรมชาติเก่าก่อนไม่ผ่านการโยกย้ายมาจากต่างถิ่นเป็นการสร้างสังคมป่าให้เกิดการเกื้อกูลกันและกันการปลูกป่ามิยาวากิยังเป็นรูปแบบหนึ่งของการฟื้นคืนชีพของสังคมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่บางครั้งอาจจะสูญหายไปจากพื้นที่ตรงนั้นซึ่งต้องออกไปเสาะแสวงหาค้นคว้าให้ถึงต้นกำเนิดที่ยังหลงเหลือแล้วนำกลับมาสร้างระบบนิเวศในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าให้กลับมาสมบูรณ์
ปลูกป่ามิยาวากิอย่างไรให้เป็นป่าที่สร้างระบบนิเวศได้ด้วยตัวเอง ขอชวนให้ลองไปสำรวจและทำความรู้จักกับ 8 หลักการที่เกิดขึ้นในโครงการ The Forestias ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยป่ามิยาวากิบนผืนดินกว่า 30 ไร่ที่แค่เดินออกจากบ้านก็สัมผัสได้
สัมผัสความร่มรื่นของป่ามิยาวากิได้ที่โครงการ The Forestias บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่มีระบบนิเวศอันสมบูรณ์และเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่าตามธรรมชาตินานาชนิด อีกทั้งยังเป็นโครงการแรกของโลกที่นำธรรมชาติสัตว์ป่า และมนุษย์มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้คอนเซ็ปต์ “Imagine Happiness – ความสุขที่แท้จริง”
ปลูกพันธุ์ไม้ 4 ชั้นเรือนยอด (Multi-layer)
ในการปลูกป่ามิยาวากิเป็นการปลูกต้นไม้ตามโครงสร้างของป่าธรรมชาติซึ่งประกอบด้วยพันธุ์ไม้ 4 ชั้นเรือนยอด ได้แก่พันธุ์ไม้ชั้นเรือนยอดสูงสุด (Tree1) พันธุ์ไม้ชั้นรอง (Tree 2) ไม้พุ่ม (Shrub) และไม้คลุมดิน(Herb) แต่ละชั้นจะสร้างเลเยอร์เป็นลำดับชั้น ทำให้ต้นไม้สามารถอยู่ด้วยกันได้ พึ่งพาอาศัย บังแดด บังลมพายุสื่อสารกันทางระบบรากและยอดไม้อยู่ต่างระดับตามความต้องการของแสง
ปลูกจากต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ด (Potted Seedlings)
การปลูกจากต้นกล้าขนาดเล็กที่เพาะจากเมล็ดจะทำให้ต้นกล้ามีระบบรากแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันมียีนส์ที่แข็งแรง ไม่กลายพันธุ์ ต้นไม้สามารถปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อมได้ดีส่งผลให้ต้นไม้สามารถเติบใหญ่แข็งแรงทนต่อแมลงและศัตรูพืชได้ดีด้วยเช่นกัน
พันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิม (Native species)
หัวใจสำคัญของการปลูกป่ามิยาวากิคือพันธุ์ไม้นอกจากจะต้องเป็นต้นกล้าที่มีรากแก้วที่สมบูรณ์แล้วจะต้องเป็นพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นนั้นๆด้วยเพื่อให้เกิดสังคมพืชในระบบนิเวศตามโครงสร้างป่าที่แท้จริงต้นไม้ท้องถิ่นจะสามารถทนต่อสภาพดินและสภาพอากาศในพื้นที่ได้ดีปรับตัวง่ายและรับมือกับศัตรูพืชได้ง่ายป่ามิยาวากิในแต่ละพื้นที่จึงจะมีพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เป็นสังคมพืชในท้องถิ่นนั้นเป็นหลัก
ความถี่ 1 ตารางเมตรปลูกต้นไม้ 4 ต้น (Dense planting)
ความถี่ของต้นไม้ในพื้นที่ 1 ตารางเมตรจะต้องปลูกกล้าไม้ที่เป็นตัวแทนของพันธุ์ไม้โครงสร้าง ทั้ง 4ชั้นเรือนยอดไล่ระดับคละชนิดพันธุ์กันตามแบบฉบับป่าธรรมชาติไม่เป็นระเบียบเสมือนเกิดขึ้นเองโดยไม่ปลูกซ้ำชนิดในแปลงเดียวกันจะสร้างสังคมต้นไม้ให้เกิดการเกื้อกูลพึ่งพิงกันและแข่งขันกับเติบใหญ่ทำให้เกิดป่าที่สมบูรณ์ได้เร็วกว่าการปลูกต้นไม้แบบทั่วไป
สร้างดินให้เป็นเนิน (Mound making)
การสร้างเนินดินจะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวดินให้สามารถปลูกกล้าได้ปริมาณเพิ่มขึ้น ช่วยระบายน้ำได้ดีและช่วยให้รากต้นไม้ได้อากาศเนินดินยังทำให้เกิดภูมิทัศน์สวยงามเล่นระดับทางสายตาได้ด้วยซึ่งไม่ต่างจากโครงสร้างภูเขาที่มีป่าธรรมชาติปกคลุม
คลุมดินรักษาความชุ่มชื้น (Mulching)
การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้ต้นไม้เติบโตได้ดีเองเริ่มจากดินนอกจากจะต้องเตรียมดินให้มีธาตุอาหารสำหรับให้พืชเติบโตแล้วยังต้องรักษาความชุ่นชื้นให้หน้าดินโดยการคลุมด้วยฟางข้าวเศษใบไม้เศษหญ้าเพื่อให้อินทรีย์วัตถุเหล่านี้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติต่อไป
ต้นกล้าต้องสมบูรณ์
รากฐานสำคัญในการปลูกป่าคือปลูกด้วยต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดทำให้มีรากแก้วซึ่งต้นกล้าที่แข็งแรงจะเติบโตเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงเพื่อเป็นป่าที่สมบูรณ์ การปลูกป่ามิยาวากิจึงควรคัดเลือกเมล็ดต้นกล้าที่สมบูรณ์ไม่แคระเกรนวิธีเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงนั้นจะพิจารณาจากระบบรากที่แข็งแรงเป็นหลัก อาจจะมีความสูงประมาณ 60-80 ซม.กล้าไม้ท้องถิ่นจะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ได้ดี ทนทานต่อโรคและแมลง มีความแข็งแรงกว่าไม้นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะถูกเลี้ยงมาในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงทนแดดทนฝนตามธรรมชาติ
ช่วง 2-3 ปีแรกต้องดูแลใส่ใจ
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การปลูกป่ามิยาวากิประสบความสำเร็จ คือ “การดูแลเอาใจใส่อย่างพิถีพิถัน” ที่เราต้องใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์มาเพาะ การดูแลระบบรากของกล้าไม้ไม่ให้ช้ำตลอดระยะเวลาการขนส่งและมีเทคนิคการปลูกที่ปราณีต รวมทั้ง ในช่วง 2-3 ปียังจำเป็นจะต้องดูแลกล้าไม้ป่าปลูกทั้งการรดน้ำคลุมดินการกำจัดวัชพืช รวมถึงโรคแมลง และตัดแต่งลิดกิ่งเปิดให้แสงส่องถึงในบางพื้นที่เพื่อให้ไม้ระดับล่างยังคงได้แสงเพื่อการเติบโตทำให้อัตราการรอดตายสูงถึง 95%