for all
well-being

Whizdom banner

REGISTER FORM

REGISTER FORM

“Futures Talk” ครั้งที่ 1: COVID-19 กับผลกระทบทางการศึกษา

Well-being
2 ปีที่แล้ว
  • MQDC
  • /
  • Well-Being
  • /
  • “Futures Talk” ครั้งที่ 1: COVID-19 กับผลกระทบทางการศึกษา
“Futures Talk” ครั้งที่ 1: COVID-19 กับผลกระทบทางการศึกษา

ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ จัดทอร์คออนไลน์ครั้งแรกกับ “Futures Talk: The Future of Thai Children and Youth after the Pandemic” โดยได้รับเกียรติจากคุณณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัยอาวุโส จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) หนึ่งในวิทยากรร่วมแบ่งปันแนวคิดในหัวข้อ

“Futures Talk” ครั้งที่ 1: COVID-19 กับผลกระทบทางการศึกษา

ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ จัดทอร์คออนไลน์ครั้งแรกกับ “Futures Talk: The Future of Thai Children and Youth after the Pandemic” โดยได้รับเกียรติจากคุณณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัยอาวุโส จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) หนึ่งในวิทยากรร่วมแบ่งปันแนวคิดในหัวข้อ

COVID-19 ส่งผลกระทบต่ออนาคตของการศึกษา การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทยมากแค่ไหน

• COVID ได้เข้ามา Shock ระบบการเรียนรู้ของไทยที่แบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก
1. ผลลัพธ์จากการเรียนรู้แต่เดิมของการศึกษาไทยมีอัตราที่ค่อนข้างต่ำ
2. มีความเหลื่อมล้ำสูง
3. เรามีการใช้งบประมานด้านการเรียนเยอะ แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือน้อยและมีประสิทธิภาพที่ไม่มากเพียงพอ

  • กลุ่มเด็กที่เปราะบางจะประสบกับ 3 ปัจจัยเหล่านี้ 
1. การสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ – จากการปิดโรงเรียนที่สร้างผลกระทบต่อโรงเรียนทั้งหมดในประเทศไทย
2. ความเครียด ความรุนแรง ในครอบครัว – ในช่วงเวลา Lock-Down ความเครียดจะทวีความรุนแรงขึ้น
3. การสูญเสียบุคคลในครอบครัว – ในไทยมีเด็กกำพร้าจาก COVID แล้วประมาน 350 คน และทั่วโลก 1.5 ล้านคน

• เกิดปรากฎการณ์การใหม่อย่าง Micro School ที่พ่อแม่บางรายนำลูกออกจากระบบการศึกษาและรวมกลุ่มกันจ้าง
     ครูมาสอนกันเอง โดยมองไปยังอนาคตที่เด็กสามารถเลือกในสิ่งที่ตนเองชอบและถนัด
     เพื่อไปศึกษาต่อที่ไหนก็ได้ในโลก

• ในด้านเศรษฐกิจ การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ E-Commerce ที่จะส่งผลต่อแรงงงานทุกกลุ่มให้พยายามเข้าไปเป็น
     ส่วนหนึ่งเช่น การเป็น ไรเดอร์ ( Grab, Panda, Robin hood) ซึ่งส่งผลต่อความคิดของเด็กที่โตขึ้นอยากประกอบอาชีพ
     เป็นไรเดอร์จากทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในสังคม

• สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเด็กและเยาวชนในช่วง COVID-19 แพรร่บาด
• สำหรับเด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ขวบ – คือช่วงเวลาที่ต้องอาศัยการมีปฎสัมพันธ์ของผู้ดูแล
     เพื่อพัฒนาด้านอารมณ์และทักษะ อื่น ๆ 
• สำหรับเด็กโต อาชีวะศึกษา มหาวิทยาลัย – ประสบการณ์ในการทำงานจริงที่ขาดหายไปจากการช่วงเวลา lock down
     คือสิ่งจำเป็นสำหรับกลุ่มคนวัยนี้ เพื่อการต่อยอดในอนาคต
• ในวิกฤตนี้มีทั้ง Winner และ Loser – การเกิด “ความห่างไกลทางอารมณ์” คือช่องว่างของคน 2 กลุ่ม
     จนกลายเป็นทัศนคติที่ต่างกันและกลายเป็นความขัดแย้งในท้ายที่สุด

คุณภาพชีวิตของเด็กไทย คุณภาพการศึกษาและนโยบายภายหลัง COVID-19 

• นโยบายที่ต้องทำควบคู่กับการฟื้นฟูคือ
1. ฟื้นฟูชีวิตและจิตใจของเด็กและเยาวชน – เด็กที่ได้รับการ support ที่ดีจะกลับมามีชีวิตปกติได้ใน 2 ปี
2. ฟื้นฟูการเรียนรู้ – การเรียนรู้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าคนไม่อยู่ในภาวะที่รู้สึกปลอดภัย

• 3P Prevent, Prepare, Protect
• Prevent – อย่าให้มีคนตายเพิ่ม
• Prepare – การเตรียมรับมือต่อเด็กที่สูญเสียสมาชิกครอบครัวอย่างจริงจัง
• Protect – ปกป้องสภาพจิตใจของเด็กเหล่านี้

  • 4 หัวข้อที่ต้องเน้นย้ำ
• เราต้องใช้วัคซีนช่วยเปิดโรงเรียนให้ได้
• ต้องประคับประครองเด็กไม่ให้เกิดความเครียดมากเกินไป
• การไหลกลับของบุคลากรที่มีประสบการณ์อาจเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดความรู้ให้เด็กในพื้นที่ห่างไกล
• เรื่องของการปรับการเรียนระยะยาวหรือ Self-Learning ด้วยตนเอง

“สิ่งที่น่ากังวลคือ เด็กที่อยู่กลาง ๆ อาจจะกลายเป็นเด็กที่ถูกฉุดให้ไปอยู่ในกลุ่มเด็กเปราะบาง จากปัญหาที่เกิดขึ้น”

รับชมบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม >>> คลิก