จะดีแค่ไหน หากว่าเราได้เปิดหน้าต่างจากห้องนอนแล้วเห็นต้นไม้และพื้นที่สีเขียวไกลสุดลูกหูลูกตา ได้เห็นเหล่ากระรอกไต่ขึ้นลงบนต้นไม้เพื่อหาอาหาร มีเสียงนกคลอเบา ๆ ราวกับเสียงดนตรีขับกล่อม และสามารถสูดกลิ่นอายของธรรมชาติได้อย่างเต็มปอดในทุก ๆ วัน หลายคนคงคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นไปไม่ได้ในชีวิตที่อยู่ติดเมืองใหญ่ แต่ปัจจุบันได้มีโครงการป่าในเมืองขึ้นมากมาย ทำให้เราได้เลือกใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติ และยังสามารถประกอบอาชีพที่เรารักได้ในเมืองกรุง แต่โครงการแบบไหน ที่เป็นโครงการที่ยั่งยืน และสามารถตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองที่อยากอยู่ท่ามกลางธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบ? เราไปหาคำตอบกัน
สัดส่วนของพื้นที่สีเขียวมากเท่าไรยิ่งดี
การขยายตัวของเมือง การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้พื้นที่สีเขียวของเมืองลดน้อยลง ปัจจุบันในพื้นที่เขตเมือง คน 1 คนมีพื้นที่สีเขียวเท่ากับเตียง 6 ฟุต 2 เตียงต่อกัน หรือไม่ถึง 7 ตร.ม./คน* เท่านั้น และหากนับประชากรแฝงสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อคนก็ลดลงมาเกือบครึ่ง ในขณะที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดให้ประชากร 1 คนมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตร.ม.
พื้นที่สีเขียวสำคัญกับเราอย่างไร?
มีงานวิจัยจำนวนมากได้ออกมายืนยันแล้วว่า พื้นที่สีเขียวมีผลต่อสุขภาพจิต ความเครียด และความวิตกกังวล ซึ่งการอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวจะลดโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้า ลดความเครียดและวิตกกังวล นอกจากนี้เด็ก ๆ ที่เติบโตท่ามกลางพื้นที่สีเขียวก็ยังมีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดีกว่าเด็กที่โตมาท่ามกลางตึกสูงในเมืองใหญ่
คำถามต่อมาคือ มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวมากแค่ไหนถึงจะดี?
คำตอบคือ ยิ่งมากยิ่งดี ในขณะที่กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวไม่ถึง 7 ตร.ม./คน แต่สิงคโปร์กลับมีพื้นที่สีเขียวถึง 66 ตร.ม./คน ซึ่งพื้นที่สีเขียวที่ดีและยั่งยืน ควรจะประกอบไปด้วยไม้ยืนต้นที่ให้ทั้งร่มเงาและความเย็นสบาย ไม้พุ่มและหญ้าที่ช่วยยึดหน้าดินเมื่อยามฝนตก ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้ในโครงการต่าง ๆ จะต้องมี “พื้นที่สีเขียวยั่งยืน” ใน “ที่ว่าง” อย่างน้อย 50% และในจำนวนนี้ต้องเป็นไม้ยืนต้น 25% ของพื้นที่สีเขียวทั้งหมด
เมื่อมีมาก ก็ต้องมีแผนการดูแลอย่างยั่งยืน
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า การไปปลูกป่านั้นง่าย แต่การดูแลต้นไม้ในบ้านนั้นยาก โครงการป่าในเมืองหรือคอนโดกลางป่าก็เช่นเดียวกัน แม้สัดส่วนของพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ป่าต่อพื้นที่จะสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญลำดับต่อมาคือการดูแลรักษาให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น หากว่าเราต้องการเลือกซื้อบ้านโครงการป่ากลางเมือง ควรจะสอบถามถึงวิธีการดูแลพื้นที่สีเขียว ทั้งแผนระยะสั้น กลาง และยาวว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าในระยะยาวโครงการจะไม่ถูกทิ้งร้างหรือขาดการดูแล
*คิดจากจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในทะเบียนราษฎร์ ไม่รวมประชากรแฝง
พื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกคนในครอบครัว
จะดีแค่ไหน ถ้าเราได้ทำกิจกรรมที่เรารักใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ และมีพื้นที่สำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นสนามเด็กเล่นอันปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ พื้นที่วิ่งและออกกำลังกายสำหรับคุณพ่อคุณแม่และผู้สูงอายุ สวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคนในครอบครัว ในพื้นที่ของโครงการ
พื้นที่กิจกรรมหรือพื้นที่นันทนาการเป็นพื้นที่สำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวผ่อนคลายความเหนื่อยล้าและเคร่งเครียดจากการทำงานหรือการเรียน โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกายแล้ว ยังหลั่งสารแห่งความสุข ทั้งเซโรโทนิน เอ็นดอร์ฟิน และโดปามีน ซึ่งช่วยเพิ่มความสุข ลดความวิตกกังวล เพิ่มความสดชื่นและกระฉับกระเฉง ทำให้นอนหลับสบาย คลายความเจ็บปวดลง
มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ขยะล้นเมือง เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญในเมืองใหญ่ และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ มลพิษในเมืองส่วนใหญ่เกิดมาจากชุมชนและการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างที่หลายคนเข้าใจ
ตัวเลขที่น่าตกใจคือ ในแต่ละวันเราผลิตน้ำเสียมากถึงประมาณ 200 ลิตรต่อคน ซึ่งหากไม่ได้บำบัดก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ น้ำเสียทั้งหมดจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวมทันที ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้านหรือคอนโดในโครงการป่าในเมือง ควรจะสอบถามถึงกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการน้ำเสียก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ การจัดการขยะ ไม่ว่าจะเป็นการแยกขยะ หรือการนำขยะไปใช้ประโยชน์ เพื่อการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จัดสรรพื้นที่ที่เหมาะกับคนทุก Gen
สังคมไทยทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวแยกออกมาจากครอบครัวเดิม แต่จะดีกว่าไหม หากว่าเรามีพื้นที่ในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เหมาะกับคนทุกเจ็นฯ ในโครงการป่าในเมือง ที่ทำให้ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่อยู่ในวัยเรียนรู้ วัยพ่อแม่ที่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงวัยที่เกษียณจากการทำงานได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกันในบ้านหลังใหญ่ หรือการอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่เลือกพื้นที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละเจ็นฯ
ใช้หลัก Universal Design ในการออกแบบพื้นที่
โครงการป่ากลางเมืองจะต้องให้ความใสใจในเรื่องการออกแบบพื้นที่ตามหลัก Universal Design หรือการออกแบบเพื่อทุกคน ซึ่งเป็นหลักการที่คนทั่วโลกใช้เป็นหลักสำคัญในการออกแบบเมือง พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ภายในบ้านให้ทุกชีวิตสามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย โดยเฉพาะในช่วงที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ใช้รถเข็น และผู้พิการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
หลักการสำคัญของ Universal Design ประกอบไปด้วย
- ความเสมอภาคในการใช้งานอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ (Equitable Use)
- การยืดหยุ่นในการใช้งาน ไม่ว่าจะถนัดซ้ายหรือขวา สูงเท่าไรก็สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย (Flexible Use)
- เรียบง่ายและเข้าใจได้ดี มีการใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะใช้ภาษาไหนก็เข้าใจได้ดี (Simple and Intuitive Use)
- มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการใช้งาน (Perceptible Information)
- มีความปลอดภัย แข็งแรงทนทาน ไม่เสียหายง่าย เมื่อมีการใช้งานผิดพลาด (Tolerance for Error)
- มีเครื่องทุ่นแรง ไม่ว่าใครก็สามารถใช้งานได้ง่าย (Low Physical Effort)
- มีพื้นที่มากพอสำหรับเคลื่อนไหว โดยเฉพาะผู้ที่ใช้รถเข็น (Size and Space for Approach and Use)
ตัวอย่างของการออกแบบตามหลัก Universal Design เช่น ทางลาดสำหรับรถเข็น การมีราวจับสำหรับผู้สูงอายุ การมีห้องน้ำสำหรับเฉพาะผู้สูงอายุและผู้พิการ การจัดให้มีอักษรเบรลล์ตามป้ายต่าง ๆ การจัดให้มีพื้นผิวต่างสัมผัส เป็นต้น
พร้อมด้วยสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก
โครงการป่ากลางเมือง ต้องไม่มีแต่พื้นที่สีเขียวเท่านั้น แต่ต้องจัดสรรสาธารณูปโภคที่พร้อมสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ศูนย์สุขภาพ ร้านค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุขในสังคมคุณภาพ
โครงการป่าในเมืองหรือการสร้างบ้านหรืแคอนโดกลางป่า สามารถเป็นจริงได้หากตั้งใจจริงและวางแผนอย่างรอบด้าน โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Forestias) ได้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของ Mixed Used ที่มีพื้นที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่สีเขียว เพื่อสร้างสังคมแห่งความสุขและมีคุณภาพ และอยู่ร่วมกันพร้อมหน้าทั้งครอบครัว ไม่ใช่แค่สร้างโครงการป่าในเมือง แต่ยังเตรียมระบบให้พร้อมสรรพ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง