ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

ช่วงเวลาของวันมีผลต่อการทำงานของสมองในวัยอิสระ

ช่วงเวลาของวันมีผลต่อการทำงานของสมองในวัยอิสระ

งานวิจัยเรื่องการทำงานของสมองตามช่วงเวลาของวัน

นักวิจัยชาวแคนาดาพบว่า วัยอิสระที่ได้รับการทดสอบสุขภาพของสมองในช่วงเช้า ไม่เพียงแต่สามารถทำคะแนนในด้านการรับรู้ได้ดีขึ้นเท่านั้น อีกทั้งการทดสอบยังสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนที่ต้องใช้ในการให้ความสนใจและระงับสิ่งรบกวนสมาธิได้เหมือนกับคนหนุ่มสาว ซึ่งผลการศึกษานี้ได้ถูกเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ของวารสาร Psychology and Aging ก่อนจะถูกตีพิมพ์ลงในวารสารเล่มจริง และการวิจัยนี้ได้ให้หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดว่า การทำงานของสมองในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของวันในวัยอิสระนั้นมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและการนำผลวิจัยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

"ช่วงเวลาของวันมีความสำคัญอย่างมากเมื่อทำการทดสอบในวัยอิสระ โดยในกลุ่มวัยนี้จะมีความสามารถในการโฟกัสและจัดการสิ่งรบกวนได้ดีกว่าในตอนเช้ามากกว่าตอนบ่าย" ดร. จอห์น แอนเดอร์สัน ผู้เขียนหลักซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกของสถาบันวิจัย Rotman Research Institute (RRI) แห่ง Baycrest Health Sciences และภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโทรอนโต กล่าว

การทำงานของสมองในการรับรู้ที่ดีขึ้นในตอนเช้าของพวกเขานี้สัมพันธ์กับการทำงานที่เพิ่มขึ้นของสมองที่ควบคุมความสนใจ ซึ่งได้แก่ สมองกลีบหน้าผากส่วนหน้า (rostral prefrontal cortex) และสมองกลีบข้างด้านบน (superior parietal cortex) โดยสมองส่วนเหล่านี้ทำงานได้คล้ายคลึงกับสมองของกลุ่มที่มีอายุน้อย

และเมื่อนักวิจัยถูกถามว่าผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของวัยอิสระอย่างไร ดร. แอนเดอร์สัน ได้ให้คำแนะนำว่า ให้ผู้ที่อยู่ในวัยอิสระจัดตารางกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดมากที่สุดไว้ในช่วงเช้า ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การยื่นภาษี การสอบต่าง ๆ (เช่น การต่ออายุใบขับขี่) การไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโรคใหม่ หรือการทำอาหารสูตรที่ไม่คุ้นเคย

วิธีการทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานของสมองตามช่วงเวลาของวัน

เช้าวันอันสดใสกับพลังสมอง (wake up in the beautiful morning concept): งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผู้ใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัยหนุ่มสาว (อายุ 19 – 30 ปี) 16 คน และกลุ่มวัยอิสระ (อายุ 60-82 ปี) 16 คน โดยให้ทั้งสองกลุ่มเข้าร่วมทำแบบทดสอบความจำในช่วงบ่าย (ระหว่าง 13.00 - 17.00 น.) โดยแบบทดสอบนี้ประกอบด้วยการดูและจำภาพประกอบคำศัพท์ที่ปรากฏสลับกันบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากภาพและคำที่เกี่ยวข้องกันแล้ว ยังมีภาพรบกวนและคำรบกวนสอดแทรกขึ้นมาด้วย เพื่อประเมินการแยกแยะสิ่งรบกวนเหล่านั้น

ระหว่างการทดสอบนักวิจัยจะใช้เครื่องสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (fMRI) เพื่อติดตามการทำงานของสมองแบบละเอียด ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าบริเวณใดของสมองทำงานอยู่ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มวัยอิสระมีโอกาสที่จะสนใจสิ่งรบกวนมากกว่าวัยหนุ่มสาวถึง 10% และกลุ่มวัยหนุ่มสาวสามารถโฟกัสและตัดสิ่งรบกวนเหล่านี้ออกไปได้

ข้อมูลจากเครื่องสแกน MRI ยืนยันว่าสมองส่วนควบคุมสมาธิของวัยอิสระทำงานน้อยกว่าวัยหนุ่มสาวอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ข้อมูลยังชี้อีกว่า วัยอิสระที่เข้ารับการทดสอบช่วงบ่ายแสดงผลลัพธ์ว่าสมองอยู่ในสภาวะ “พัก” โดยสมองส่วนควบคุมสมาธิทำงานน้อยลง แต่สมองส่วนพัก (default mode network - ทำงานในช่วงพักผ่อนหรือเวลานึกอะไรเพลิน ๆ) กลับทำงานมากขึ้น ซึ่งนี่อาจบอกได้ว่าในกลุ่มวัยอิสระจะมีความยากลำบากในการโฟกัสกับบางสิ่งบางอย่าง 

สมองจะทำงานได้ดีขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม

เมื่อวัยอิสระ 18 คนเข้ารับการทดสอบในช่วงเช้า (8:30 น. - 10:30 น.) พวกเขาแสดงผลการทดสอบที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดผ่านการทดสอบการยับยั้ง (behavioural measures of inhibitory control - เป็นการทดสอบความสามารถในการควบคุมความสนใจจดจ่อ) ซึ่งพบว่าพวกเขาสนใจกับสิ่งรบกวนน้อยกว่ากลุ่มที่ทดสอบในช่วงเวลาอื่น นอกจากนี้ผลการทดสอบในช่วงเวลานี้ยังให้ผลที่แตกต่างกันไม่มากระหว่างกลุ่มวัยหนุ่มสาวและวัยอิสระ ที่สำคัญยังพบอีกว่าสมองส่วนควบคุมความสนใจของวัยอิสระที่ทดสอบในช่วงเช้าทำงานเหมือนกับวัยหนุ่มสาว ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้ชี้ว่าเวลาที่ใช้ทดสอบสำหรับกลุ่มวัยอิสระส่งผลต่อทั้งประสิทธิภาพและการทำงานของสมอง

“งานวิจัยของเรามีผลสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ ที่ชี้ว่าผู้ที่อยู่ในวัยอิสระสามารถต่อต้านสิ่งรบกวนได้ดีกว่า เมื่อทดสอบในช่วงเวลาที่ตรงกับรูปแบบการตื่นนอนตามธรรมชาติของร่างกาย” ดร. ลินน์ ฮาเชอร์ ผู้เขียนหลักของบทความวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านสมาธิและการยับยั้งชั่งใจในผู้ใหญ่ทั้งวัยหนุ่มสาวและผู้สูงวัย กล่าว

ดร. ลินน์ ฮาเชอร์ ยังมีข้อแนะนำเพิ่มเติมอีกว่าผลการวิจัยจากเบย์เครสต์ (Baycrest) นี้เป็นข้อควรระวังสำหรับนักวิจัยที่จะทำการศึกษาการทำงานทางปัญญาในวัยอิสระ “เนื่องจากในวัยอิสระส่วนใหญ่มักเป็นคนตื่นเช้า การละเลยหรือไม่ให้ความสนใจเรื่องช่วงเวลาในการทดสอบพวกเขาเกี่ยวกับงานบางอย่าง อาจทำให้เราไม่เห็นภาพที่แท้จริงของการทำงานของสมองในกลุ่มคนที่มีอายุต่างกันได้”

พัฒนาตนเองและดูแลสุขภาพรอบด้านอย่างมั่นใจและไร้กังวลในวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest ห่วงใยและใส่ใจคุณตลอดชีวิตแบบครบวงจร

เพราะรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยอย่างครบวงจรเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest

การจะดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่สดใสแข็งแรงสมวัย 50+ นั้นนอกจากจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพทั้งด้านร่างกาย สมอง จิตใจแล้วนั้น การได้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะยิ่งช่วยส่งเสริมให้วัยอิสระมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ มีความหมาย ปราศจากความกังวล ทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ ให้คุณได้อยู่ในสังคมหลากหลายวัยในโครงการ The Forestias พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพ และชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.baycrest.org/Baycrest-Pages/News-Media/News/Research/Older-adults-have-morning-brains!-Study-shows-noti

PUBLISHED : 6 เดือนที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน