for all
well-being

Whizdom banner

REGISTER FORM

REGISTER FORM

อนาคตศาสตร์ “มอง” ความเป็นไปข้างหน้า “ทำ” ปัจจุบันให้พร้อม กับฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ

Well-being
2 ปีที่แล้ว
  • MQDC
  • /
  • CSR
  • /
  • อนาคตศาสตร์ “มอง” ความเป็นไปข้างหน้า “ทำ” ปัจจุบันให้พร้อม กับฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ
อนาคตศาสตร์ “มอง” ความเป็นไปข้างหน้า “ทำ” ปัจจุบันให้พร้อม กับฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ

วันที่ 5 สิงหาคม 2564, กรุงเทพฯ -  ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ร่วมพูดคุยเรื่อง “อนาคตศาสตร์ ‘มอง’ ความเป็นไปข้างหน้า ‘ทำ’ ปัจจุบันให้พร้อม” ให้กับเว็บไซต์ The Story Thailand   ดิจิทัลแพลตฟอร์มชั้นนำของประเทศไทย

อนาคตศาสตร์ “มอง” ความเป็นไปข้างหน้า “ทำ” ปัจจุบันให้พร้อม กับฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ

วันที่ 5 สิงหาคม 2564, กรุงเทพฯ -  ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ร่วมพูดคุยเรื่อง “อนาคตศาสตร์ ‘มอง’ ความเป็นไปข้างหน้า ‘ทำ’ ปัจจุบันให้พร้อม” ให้กับเว็บไซต์ The Story Thailand   ดิจิทัลแพลตฟอร์มชั้นนำของประเทศไทย

ดร. การดี ได้อธิบายวิธีคาดการณ์สภาพสังคม เศรษฐกิจ และแนวโน้มของเทรนด์ในอนาคต โดยสิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงความคิดเห็นของบุคคลสำคัญของโลกในปัจจุบัน เพื่อนำมาจัดลำดับการประมวลผลและวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

“พอเราทำอนาคตศาสตร์ เรามักจะมองในระยะเวลาที่ไกล แล้วเราก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องคิดว่า เราจำเป็นต้องเห็นทุกอย่างที่ชัด แม่นยำ แต่เราจะให้เห็นชัดมากพอที่จะตีความสู่ปัจจุบันว่า ถ้ามันมีโอกาส เราจะต้องทำอะไรบ้าง กับถ้ามันมีสิ่งที่ต้องเป็นข้อพึงระวัง มันจะมีอะไรบ้าง” ส่วนหนึ่งจากบทความ

โดยได้แบ่งการพิจารณาสภาพการณ์ออกเป็น 3 ช่วงเวลาที่ชัดเจน คือช่วงปี 2564-2573 ช่วงปี 2574-2583 และช่วงปี 2584-2593 และหากพิจารณาจากบริบทที่เกิดขึ้นของสภาพสังคมในปัจจุบัน ซึ่งต้องนำประเด็นหลัก 7 ประการ มาใช้เป็นองค์ประกอบในการศึกษาแต่ละช่วงเวลา อาทิ 1. บุคคลและสังคม (Individual & Society) 2. เทคโนโลยีและอุปกรณ์รอบตัว (Tech & Device around US) 3. การผลิตและการบริการ (Service & Manufacturing) 4. เมืองและที่อยู่อาศัย (City and Where we live) 5. เศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ (Economy & Geopolitics) 6. สิ่งแวดล้อมและถิ่นที่อยู่ (Environment & Habitat) 7. ธุรกิจอวกาศ (Space Economy)

นอกจากนี้เมื่อเราใช้หลักอนาคตศาสตร์มองอนาคตตลอดช่วง 30 ปีข้างหน้า ที่ซึ่งในอีก 10 ปีแรกนับจากนี้ จะเป็นช่วงเวลาแห่งการดิ้นรนขวนขวาย (The decade of struggling) เพราะ COVID-19 ทำให้เกิดการปรับระบบที่ไม่ได้เป็นทางเลือก แต่เป็นทางรอด และถ้าเรายังไม่เปลี่ยนแปลง คำตอบคือเราอาจจะไม่รอด หรือเกิดความล้าหลังด้านการใช้ชีวิตและการทำงาน

ทั้งนี้ ดร.การดี กล่าวเสริม ท่ามกลางสภาพสังคมที่ดิ้นรนขวนขวาย ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในช่วง 10 ปีนี้ คือ ความเหลื่อมล้ำ หรือการเข้าไม่ถึงโอกาสที่เท่าเทียมกันในระดับโลก ขณะเดียวกันสภาพสังคมดังกล่าวทำให้เกิดความต้องการ ‘คน’ หรือ ‘บุคลากรที่เก่งจริง ๆ เท่านั้น’ ดังนั้นผู้คนที่มีค่าเฉลี่ยกลาง ๆ ก็จะต้องรู้จักปรับตัวให้ได้มากและปรับตัวให้ได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามบทสัมภาษณ์ดร. การดี ในประเด็น Asymmetric development ได้ทาง DTGO Daily เร็ว ๆ นี้

บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม >>> คลิก