for all
well-being

Whizdom banner

REGISTER FORM

REGISTER FORM

RISC ร่วมเป็นพันธมิตรหลักการประชุมระบบนิเวศป่าไม้

Corporate Well-being
9 เดือนที่แล้ว
  • MQDC
  • /
  • Well-Being
  • /
  • RISC ร่วมเป็นพันธมิตรหลักการประชุมระบบนิเวศป่าไม้
RISC ร่วมเป็นพันธมิตรหลักการประชุมระบบนิเวศป่าไม้

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) โดย MQDC ร่วมเป็นพันธมิตรหลักการประชุมระดับโลกด้านระบบนิเวศของป่าไม้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสหภาพองค์กรวิจัยป่าไม้นานาชาติ (IUFRO)

RISC ร่วมเป็นพันธมิตรหลักการประชุมระบบนิเวศป่าไม้

นที่ 15-19 มกราคม 2567, กรุงเทพฯ - ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) โดย MQDC ร่วมเป็นพันธมิตรหลักการประชุมระดับโลกด้านระบบนิเวศของป่าไม้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสหภาพองค์กรวิจัยป่าไม้นานาชาติ (IUFRO)  

 

ทั้งนี้ RISC คือศูนย์วิจัยที่สนับสนุน MQDC ด้านการออกแบบอาคารที่ส่งเสริมด้านความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน 

 

นอกจากนี้ศูนย์ RISC ได้ประยุกต์ใช้งานวิจัยที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเดอะ ฟอเรสเทียส์ โครงการเมืองในป่าใหญ่บนพื้นที่สีเขียวกว่า 398 ไร่ บนถนนบางนาตราดอีกด้วย 

 

โดย RISC ได้พาคณะเยี่ยมชมและดูงานภายในโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ หลังจากที่ได้จัดการประชุมในหัวข้อ ‘Role and Fate of Forest Ecosystems in a Changing World’ ของ IUFRO 

 

ซึ่งทีมนักวิจัย RISC ได้อธิบายถึงแนวคิดการออกแบบองค์ประกอบและกระบวนการภายในโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับลูกบ้านท่ามกลางความมหัศจรรย์อันหลากหลายของระบบนิเวศทางธรรมชาติซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวกว่า 56% ภายในโครงการ 

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมยั่งยืน RISC ได้รับเกียรตินำเสนอเป้าหมายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ MQDC 

MQDC ได้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายอย่างมากคือ Nature Positive, Carbon Negative” รศ.ดร.สิงห์ กล่าว 

“ซึ่งก็คือการดูแลระบบนิเวศและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติไปพร้อมกับการส่งเสริมวิถีชีวิตที่ไม่สร้างก๊าซคาร์บอนหรือมลภาวะ” 

ทั้งนี้ IUFRO เป็นองค์กรนานาชาติที่ก่อตั้งมา 131 ปี มีสมาชิกเป็นองค์กรกว่า 630 แห่งทั่วโลกที่ทำงานด้านการวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม  

โดยภายในการประชุมมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนกว่า 80 คน จาก 25 ประเทศทั่วโลกมารวมตัวกัน