REGISTER FORM
การให้บริการที่พักในอนาคตจะไม่ใช่แค่เป็นที่พักผ่อนให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังอาจต่อยอดไปสู่ “ออกแบบการนอน” เป็นอีกรูปแบบของการท่องเที่ยวและความเพลิดเพลินด้วยเทคโนโลยีทางประสาท
การให้บริการที่พักในอนาคตจะไม่ใช่แค่เป็นที่พักผ่อนให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังอาจต่อยอดไปสู่ “ออกแบบการนอน” เป็นอีกรูปแบบของการท่องเที่ยวและความเพลิดเพลินด้วยเทคโนโลยีทางประสาท
หนึ่งในนวัตกรรมเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นจริงภายในปี 2060 โดย ดร. เจมส์ แคนตัน (Dr. James Canton) จาก Institute for Global Futures คือ เตียงเลือกฝัน หรือ Neuro-dreaming เพื่อสร้างความสุขและความผ่อนคลายให้กับผู้รับบริการให้ลูกค้าได้ “มีชีวิตในฝันได้อย่างที่ฝัน”
แนวคิดนี้ได้รับการต่อยอดโดย MIT Media Lab เพื่อพัฒนาโปรเจค Targeted Dream Incubation (TDI) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับการนอนแบบพกพา ที่จะไม่เพียงแค่ช่วยบันทึกพฤติกรรมการนอนของผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังสามารถกำหนดธีมความฝันด้วยการสะกดจิตและการเหนี่ยวนำด้วยคลื่นเสียงซึ่งมีผลต่อสภาวะจิตใจในช่วงเวลาจำเพาะเจาะจงในรอบการหลับตื่น REM (rapid eye movement) sleep เพื่อให้เกิดการออกแบบความฝันให้เกิดขึ้นได้
โดยเทคโนโลยีที่เห็นในปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนสามารถให้คำแนะนำหรือช่วยในการปรับพฤติกรรมการนอนของผู้ใช้งานได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น Philips SmartSleep ที่มีทั้งเข็มขัดเพื่อลดการนอนกรน เฮดแบนด์สำหรับช่วยให้หลับลึก หรือโคมไฟสำหรับให้แสงเพื่อปลุกตอนเช้า เป็นต้น หรือแบรนด์ Lucid Dreamer อุปกรณ์อิเล็กโทรดแปะหน้าผากที่ควบคุมด้วยแอปพลิเคชันในมือถือที่ช่วยเก็บบันทึกพฤติกรรมการนอนและช่วยฝึกผู้ใช้งานให้เรียนรู้วิธีการควบคุมความฝันของตัวเองด้วยเทคโนโลยี mild electrical stimulation (tACS)
งานวิจัยในลักษณะนี้เองก็ได้รับการศึกษาร่วมกันในสหวิชาทั้ง วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ประสาทศาสตร์ จิตวิทยาปริชาน จิตสรีรวิทยาในหลายหน่วยวิจัย เช่น Duke University, Boston College, Harvard University, the University of Rochester, and the University of Chicago โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีการบริการเพื่อออกแบบความฝันด้วยตัวเองยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาในห้องทดลอง
เลขที่ 695 หมู่ที่ 12
ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี
สมุทรปราการ
10540
© 2025 Magnolia Quality Development Corporation Limited. All Rights Reserved.