MQDC จับมือ RISC ไขกลยุทธ์การออกแบบที่อยู่อาศัยปลอด COVID-19
วันที่ 10 มีนาคม 2564 กรุงเทพฯ - MQDC ร่วมกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) เปิดกลยุทธ์ “COVID-Free Design” หรือหลักการออกแบบเพื่อสุขภาวะที่ปราศจากการสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรีย ควบคู่มาตรฐาน MQDC Well-Being Standard ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพของลูกบ้านในทุกโครงการของ MQDC ลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อโรค ตั้งแต่เริ่มแพร่ระบาดของโรค COVID-19
“MQDC มีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะสร้างมาตรฐานการออกแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ปลอดการแพร่กระจายเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัส รวมถึง COVID-19” คุณวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MQDC กล่าว
“ตามแนวคิด ‘For All Well-Being’ เราจึงได้ร่วมมือกับ RISC พัฒนากลยุทธ์การออกแบบที่อยู่อาศัยที่ลดการระบาด พร้อมแบ่งปันให้ความรู้ต่อสังคม ผ่านแคมเปญ The Secret of COVID-Free Design หรือแนวคิดการออกแบบพื้นที่ที่ปลอดโรค COVID-19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกคน ทั้งลูกบ้าน ลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมโครงการ ให้มีความมั่นใจ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติภายใต้วิถีปกติใหม่ (New Normal)”
รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา RISC กล่าวว่า หลักของการออกแบบพื้นที่เพื่อสุขอนามัยที่ดีของโครงการที่อยู่อาศัยในช่วงโรคระบาดมีความละเอียดอ่อนมาก เราจึงเร่งพัฒนากลยุทธ์การออกแบบและนวัตกรรมเพื่อลดการแพร่ระบาดในที่อยู่อาศัยและชุมชน จนสามาถสรุปเป็นแนวทางที่ชัดเจน หรือ “The Secret of COVID-Free Design” ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ
1. Disinfection Zone การออกแบบพื้นที่ปลอดเชื้อของบ้าน เพื่อดักและระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ เช่น การออกแบบ Foyer ที่มีประตูสองชั้นบริเวณทางเข้า-ออก การติดตั้งระบบฟอกอากาศบริเวณทางเข้า-ออก (Entranced Air Purifier) เพื่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศและเชื้อโรคบริเวณพื้นผิวต่างๆ ที่อาจติดเข้ามากับเสื้อผ้า กระเป๋า รวมทั้งการติดตั้งพรม Antiviral & Allergy Free และเคหะสิ่งทออื่นๆ ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถดักและหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจติดมากับรองเท้า เพื่อเป็นการลดจำนวน และลดการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อโรค
2. Smart & Touchless การลดการสัมผัสเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ การออกแบบพื้นที่โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ลดการสัมผัส เป็นแนวทางที่ต้องใช้ sensors และระบบที่ประกอบด้วย Facial Recognition ใช้ระบบสแกนใบหน้า พร้อมตรวจวัดอุณหภูมิในการเข้า-ออก Automatic Door ประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดการสัมผัส Sensor Faucet ก๊อกน้ำเปิด-ปิดอัตโนมัติลดการสัมผัส Touchless Lift ระบบลิฟต์ที่ช่วยลดการสัมผัสด้วยการใช้รังสีอินฟราเรด หรือ Virtual screen พร้อมการฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยการใช้นาโนเทคโนโลยีเคลือบผิว
3. Happy Working from Home การออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยของแต่ละบุคคลเพื่อรองรับการทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ที่ถูกสุขลักษณะ ประกอบด้วย การออกแบบที่รองรับสรีระและอิริยาบถต่างๆ ของผู้อาศัย มีกล่องเพื่อรับ-ส่งพัสดุและอาหาร (Disinfection Box) เพื่อฆ่าเชื้อบนกล่องพัสดุก่อนถึงมือลูกบ้าน ตลอดจนการออกแบบเพื่อความสะดวกสบายด้านอุณหภูมิ และคุณภาพอากาศที่ดี เช่น การออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMF) และการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรมควบคู่กับระบบนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm)
4. Management Protocol การกำหนดนโยบาย และหลักการปฏิบัติภายใต้กรอบและข้อกำหนดของการป้องกันเชื้อโรค COVID-19 ซึ่งประกอบไปด้วย Infection Prevention กับมาตรการการเว้นระยะลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโรค จากการออกแบบระบบสื่อสารแอปพลิเคชั่นต่างๆ ทั้งนี้เรายังมีนโยบายให้ติดตั้ง เครื่องฟอกอากาศระดับเมือง Fahsai 2 ที่ไม่เพียงฟอกอากาศเพื่อลด PM2.5 ในพืนที่สาธารณะ แต่ยังสามารถกำจัดเชื้อไวรัสแลแบคทีเรียได้
“ทั้งหมดนับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทาง MQDC และ RISC ได้พัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Health & Wellness) เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะของลูกบ้าน และชุมชน รวมถึงลดโอกาสการสัมผัสและการติดเชื้อ COVID-19 จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันภายในโครงการที่อยู่อาศัยของ MQDC เพื่อให้พื้นที่ภายในโครงการเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ COVID-19 ส่งเสริมแนวคิด ‘For All Well-Being’ อย่างสมบูรณ์แบบและเป็นรูปธรรม” รศ.ดร.สิงห์ กล่าว
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน RISC ได้ที่: www.risc.in.th