เราทุกคนล้วนปรารถนาชีวิตที่สมบูรณ์ ไปพร้อม ๆ กับการมีสุขภาพที่ดี แต่ในปัจจุบันการมีสุขภาพดีในมิติด้านร่างกายอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีการใช้คำศัพท์ใหม่ว่า “สุขภาวะ (well-being)” ซึ่งให้ความหมายของการมีสุขภาพดีในหลาย ๆ มิติ
“สุขภาวะ” มีความหมายรวมถึงการปรับวิถีชีวิตเพื่อนำไปสู่การใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพในทุกมิติ การมีสุขภาวะที่ดี เราจะสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 8 มิติ โดยทั้ง 8 ด้านมีความสัมพันธ์และคาบเกี่ยวซึ่งกันและกัน โดยสุขภาวะที่ดี 8 มิติ ประกอบด้วย
1. สุขภาวะทางกาย (physical well-being)
สุขภาวะทางกายเป็นมิติของสุขภาวะที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก เพราะการมีสุขภาพกายที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตที่มีอิสระในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หากกล่าวโดยย่อ สุขภาวะทางกายก็คือ การดูแลร่างกายให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการ การออกกำลังกาย พักผ่อนอย่างเพียงพอ การเลือกที่จะปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติของร่างกาย รวมไปถึงการพิจารณาทางเลือกเกี่ยวกับสุขภาพอย่างมีวิจารณญาณ
2. สุขภาวะทางการรู้คิด (intellectual/cognitive well-being)
สุขภาวะทางการรู้คิด คือ การมีความตื่นตัวทางความคิด การกระตุ้นสมองให้มีการพัฒนาตลอดเวลา แนวทางสำคัญของการสร้างสุขภาวะทางการรู้คิด คือ แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้อาจรวมไปถึงการต่อยอดสร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ทั้งสำหรับวัย 50+ และวัยรุ่น วัยทำงาน เพื่อเสริมทักษะชีวิตใหม่ ๆ
3. สุขภาวะทางอารมณ์ (mental/emotional well-being)
สุขภาวะทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์และจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดการกับความกดดันและความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึงความสามารถในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและช่วงเวลาที่ท้าทาย การมีสุขภาวะทางอารมณ์ที่ดีช่วยให้เราสามารถจัดการชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนใกล้ชิดและคนในครอบครัวได้
4. สุขภาวะทางสังคม (social well-being)
สุขภาวะทางสังคม คือ สภาวะที่บุคคลรู้สึกพึงพอใจกับชีวิตทางสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้าง ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากชุมชน การมีสุขภาวะทางสังคมดีช่วยให้บุคคลรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทำให้มีสุขภาพจิตและกายที่ดี มีความสุข และสามารถเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีกิจกรรมที่คนทุกวัยสามารถทำร่วมกัน การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ การร่วมเล่นกิจกรรมภายในครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาวะทางสังคมได้เป็นอย่างดี
5. สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (spiritual well-being)
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ คือ สภาวะที่บุคคลรู้สึกถึงความหมายและจุดมุ่งหมายในชีวิต รู้สึกมีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า และมีความสงบสุขภายใน โดยไม่จำกัดเฉพาะความเชื่อทางศาสนา การมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณที่ดีจะช่วยให้บุคคลมีความมั่นคงทางจิตใจ มีความสามารถในการเผชิญกับความเครียดและปัญหา กิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ได้แก่ การทำสมาธิ การสวดมนต์ โยคะ ไท้เก๊ก การออกไปสัมผัสธรรมชาติ ดูนก เป็นต้น
6. สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม (environmental well-being)
สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม คือ การเคารพต่อโลกและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เห็นคุณค่าในสิ่งของเครื่องใช้ ลดการสร้างขยะและมลพิษ แยกขยะรีไซเคิล ตระหนักและให้ความสำคัญต่อผลของการกระทำของเราที่จะมีต่อโลกในอนาคต นอกจากนั้นแล้ว สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่ดียังรวมไปถึงโอกาสในการเข้าถึงน้ำสะอาด อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทางเดินและการขนส่งที่ปลอดภัย มลภาวะต่ำ และมีพื้นที่สีเขียว เช่น สวนหรือสวนสาธารณะ อย่างเพียงพอ
7. สุขภาวะทางอาชีพการงาน (occupational/professional/vocational well-being)
สุขภาวะทางอาชีพการงาน ไม่ใช่แค่เพียงการมีงานทำ หรือมีความก้าวหน้าในอาชีพ แต่ยังรวมถึง การรู้สึกถึงคุณค่าในงานที่ทำ รู้สึกมีเป้าหมาย สร้างความภูมิใจ เติมเต็มทั้งความต้องการของตนเอง ครอบครัว และมีคุณประโยชน์ต่อสังคม ในช่วงวัยทำงาน สุขภาวะทางอาชีพการงาน คือ การมุ่งเน้นที่การรักษาสมดุลของความก้าวหน้าและการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม ส่วนในวัยอิสระ การเกษียณจากการงานที่ทำมาอาจส่งผลต่อความรู้สึกการมีคุณค่าในตนเอง การทำงานอาสาสมัครในวัยนี้จึงมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาวะทางอาชีพการงาน และสุขภาวะทางสังคมแล้ว งานอาสาสมัครยังช่วยให้วัยอิสระได้ใช้ประสบการณ์และทักษะที่สั่งสมมาอย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถช่วยรักษาสุขภาพสมองและการทำงานของสมองไว้ได้อีกด้วย
8. สุขภาวะทางการเงิน (financial well-being)
สุขภาวะทางการเงิน คือ สภาวะที่บุคคลมีความมั่นคงและพอใจในการจัดการเงินของตนเอง สามารถวางแผนและจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนการใช้จ่าย การเลือกใช้จ่ายในปัจจัยที่จำเป็น เช่น การดูแลสุขภาพ การเลือกที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับการใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ สุขภาวะทางการเงินที่ดีจะช่วยลดความเครียดและความกังวล ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจและมีความสุข
สรุป
การมีสุขภาวะที่ดีครอบคลุมทั้ง 8 มิติ ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางการรู้คิด สุขภาวะทางอารมณ์ สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม สุขภาวะทางอาชีพการงาน และสุขภาวะทางการเงิน ช่วยส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การดูแลและพัฒนาตนเองในแต่ละมิติอย่างสมดุลจะช่วยเสริมสร้างชีวิตที่มีความสุข สุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้การมีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติจะทำให้เราสามารถเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีชีวิตที่สมบูรณ์และมีความสุขอย่างยั่งยืน
การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดีอย่างครบทุกมิติ พร้อมประสานเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest เราพร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร
จากเทรนด์การดูแลและใส่ใจเรื่องสุขภาพทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพสมอง การมีที่อยู่อาศัยที่มีสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพครบในทุกมิติจึงเป็นนับเป็นของขวัญที่ล้ำค่า เพื่อการใช้ชีวิตอย่างอิสระ มีความสุข และมีชีวิตที่ยืนยาว โครงการ The Aspen Tree เป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่มีการประสานความร่วมมือกับสถาบัน Baycrest ผู้นำด้านการวิจัยและการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยระดับโลกได้ออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับวัยอิสระที่ดูแลและให้บริการอย่างครบครัน รอบด้าน ทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ที่ The Aspen Tree เราผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยทั้งด้านการแพทย์และที่อยู่อาศัยซึ่งมีการศึกษาวิจัยรองรับ เพื่อมอบการดูแลและส่งเสริมการมีสุขภาพดีของทุกท่าน
พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม
ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree
โทร. 1265
LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde
อ้างอิงข้อมูลจาก