ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

นอนอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและส่งผลดีต่อสุขภาพที่สุด

นอนอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและส่งผลดีต่อสุขภาพที่สุด

การนอนหลับเป็นปัจจัยพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการนอนหลับจะช่วยให้สมองและร่างกายของเราได้รับการฟื้นฟู และช่วยให้เราสดชื่นพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ของวันใหม่

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับกันก่อน การนอนหลับของคนเราแบ่งออกเป็น 5 ระยะย่อย ๆ ดังนี้
● ระยะที่ 1-2 เป็นระยะจากที่เราเตรียมตัวนอนจนเราเริ่มนอนหลับ (Light sleep)
● ระยะที่ 3-4 เป็นระยะที่เรานอนหลับลึก (Deep sleep)
● ระยะที่ 5 เป็นระยะนอนหลับที่มีการฝัน (Rapid Eye Movement sleep หรือ 
REM sleep)

โดยที่ระยะของการหลับที่สำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์กับร่างกายและจิตใจมากที่สุด คือ ระยะนอนหลับลึกและระยะนอนหลับที่มีการฝัน หรือ REM sleep อย่างไรก็ตามเมื่อเรามีอายุมากขึ้นความสามารถในการนอนหลับลึกให้มีระยะเวลานานและเหมาะสมจะลดลงและจะมีช่วงหลับไม่ลึกและช่วงตื่นมากขึ้น จึงมีคำแนะนำว่าควรนอนหลับในเวลากลางคืนให้ได้ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนและเพิ่มระยะเวลาการนอนหลับลึกและ REM sleep ที่มีประโยชน์กับการทำงานของร่างกายให้นานมากขึ้น

การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมและอัตราการเสียชีวิต

การนอนหลับอย่างประสิทธิภาพในเวลากลางคืน ช่วยส่งเสริมในเรื่องของการเรียนรู้และความจำ รวมไปถึงสุขภาวะด้านอารมณ์และระบบการทำงานของร่างกายโดยรวมด้วย  เพราะในช่วงที่เรานอนหลับในเวลากลางคืนนั้น สมองของเราจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้ในระหว่างวัน ช่วยส่งเสริมให้เรามีความจำและระบบการเรียนรู้ที่ดีขึ้นจากการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ

ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากเรามีปัญหาเรื่องการนอนไม่เพียงพอ หรือไม่มีประสิทธิภาพ ล้วนส่งผลต่อสุขภาวะทางด้านอารมณ์และร่างการได้อย่างชัดเจน เช่น มีภาวะวิตกกังวล รู้สึกไม่สดชื่นหรือกระสับกระส่ายในระหว่างวันได้ และถ้าหากไม่รีบปรับพฤติกรรมการนอนหลับ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพในระบบที่สำคัญต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน รวมไปถึงโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้น

สอดคล้องกับบทความของนายแพทย์ Andrew E. Budson ที่ได้เขียนถึงประโยชน์ของการนอนต่อระบบความจำไว้ว่า การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพช่วยส่งเสริมให้มีระบบความจำที่ดีขึ้น และยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการภาวะสมองเสื่อมและโอกาสเสียชีวิตได้อีกด้วย ซึ่งในทางการแพทย์เป็นที่ทราบกันดีว่าอาการของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมบางราย มักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับไม่สนิท ซึ่งอาการนี้มีความเชื่อมโยงกับ 2 การศึกษาล่าสุด ที่พบว่าหากคุณนอนหลับไม่เพียงพอ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น จากข้อมูลทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าปัญหาการนอนหลับอาจจะไม่ได้เป็นเพียงผลที่เกิดจากการมีภาวะสมองเสื่อม แต่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย

ควรนอนหลับให้ได้ 6-8 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อสุขภาพที่ดี

ในปัจจุบันมีการศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องการนอนหลับที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม โดยมี 2 การศึกษาล่าสุด ที่แสดงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงภาวะสมองเสื่อมไว้อย่างน่าสนใจ ในการศึกษาแรก ได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการนอนจากการประเมินตนเองในช่วงเวลา 1 ปี กับการพัฒนาไปสู่การเกิดภาวะสมองเสื่อมและ/หรือการเสียชีวิตในอีก 5 ปีถัดไป ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปโดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวนกว่า 2,800 คน การศึกษานี้พบว่าผู้ที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงในแต่ละคืนนั้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่นอนหลับคืนละ 6-8 ชั่วโมง*

ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่ 2 ที่ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลในประเทศกลุ่มยุโรป (ประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์) โดยทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกือบ 8,000 คน การศึกษานี้พบว่า กลุ่มคนในช่วงวัย 50 60 และ 70 ปี ที่นอนหลับเป็นระยะเวลาเท่ากับหรือน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันเป็นประจำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่นอนหลับในระยะเวลาปกติ (7 ชั่วโมงต่อวัน) และพบว่าอายุเฉลี่ยของคนที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นอยู่ที่ 77 ปี**

จากการศึกษาทั้ง 2 การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับไม่เพียงพอในช่วงวัยทำงานหรือวัยกลางคน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งเหตุผลที่ทำให้กลุ่มวัยกลางคนมีการนอนหลับไม่เพียงพอ มีหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานที่มีลักษณะเป็นกะ อาการนอนไม่หลับซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การมีภาระหน้าที่ที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ความวิตกกังวล กรอบระยะเวลาการทำงานที่กดดันที่ต้องทำให้ทันเวลา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งปัจจัยบางอย่างเราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราสามารถสร้างหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างได้ เช่น หากตอนนี้เรานอนแค่ประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อคืน เพราะต้องทำงานจนถึงดึกในทุก ๆ คืน อาจจะต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนนอนเพื่อให้มีเวลานอนหลับเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อคืน โดยจัดตารางเวลาการทำงานให้ชัดเจน หรือวางแผนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมในอนาคต เป็นต้น

* การศึกษานี้ได้มีการควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของกลุ่มตัวอย่าง เช่น อายุ สถานภาพการสมรส เชื้อชาติ การศึกษา สภาวะสุขภาพ และน้ำหนักตัว เพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง
**การศึกษานี้ได้ควบคุมปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ พฤติกรรม ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และปัจจัยด้านสุขภาพจิต เพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง

การนอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมในสมอง สาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์

แม้ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดว่า ทำไมการนอนหลับไม่เพียงพอถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม แต่หนึ่งในคำอธิบายที่เป็นไปได้ก็คือ การสะสมของโปรตีนอัลไซเมอร์ เช่น โปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ โดยสารเบต้าอะไมลอยด์สามารถจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจนกลายเป็นกลุ่มโปรตีนอัลไซเมอร์

โดย “โปรตีนเบต้าอะไมลอยด์นี้เป็นโปรตีนสำคัญที่ถูกศึกษาอย่างมากมายเพราะเป็นโปรตีนที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์” แต่ก็มีคำถามว่าโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์นี้มีประโยชน์อย่างไร ทำไมสมองจึงสร้างโปรตีนชนิดนี้ขึ้นมา แม้นักวิจัยยังไม่ทราบหน้าที่ที่แน่ชัดของโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ แต่มีหลักฐานการศึกษาที่มาสนับสนุนว่า โปรตีนนี้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันการรุกรานของเชื้อจุลินทรีย์ที่สมอง แต่อย่างไรก็ตามการสะสมโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ในปริมาณที่มากจนเกินไป ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

กลไกการทำงานของร่างกายปกติ ในแต่ละวันร่างกายจะสร้างโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ และนำไปสะสมที่เซลล์สมอง เมื่อเรานอนหลับ เซลล์สมองจะทำการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์สมองขึ้น และมีกลไกการกำจัดโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ถูกสะสมอยู่ในเซลล์สมองระหว่างวันออกไป

ดังนั้นจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าถ้าเรานอนหลับไม่เพียงพอ สมองจะมีเวลาไม่เพียงพอในการกำจัดโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์และส่วนประกอบอื่น ๆ ออกไปได้หมด ทำให้มีการสะสมอยู่ในเซลล์สมองเรื่อย ๆ จนเกิดภาวะสมองเสื่อมได้  สัมพันธ์กับการศึกษาของนักวิจัยในโทรอนโตและชิคาโก ที่พบว่า การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นช่วยลดการสะสมของเส้นใยโปรตีนแทงเกิล ซึ่งเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย

ออกแบบสภาพแวดล้อม และกิจกรรม เพื่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพที่ The Aspen Tree The Forestias

การนอนหลับพักผ่อนเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพเปรียบเหมือนการรับประทานอาหารที่ดีควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย และเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของสมอง โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัย 50 ปีขึ้นไป 

การออกแบบสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศของผืนป่าขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ ภายในโครงการ The Forestias ที่ให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมหลากหลายวัย  ผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติและอากาศบริสุทธิ์ และการออกแบบที่พักอาศัยภายใต้แนวคิด Aging-in-Place ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สิ่งเหล่านั้นจะช่วยให้การพักผ่อนของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยชะลอการเกิดโรคภัยต่าง ๆ รวมถึงช่วยป้องกันและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมระหว่างวันที่ส่งเสริมสุขภาพในทุก ๆ ด้าน อีกทั้งยังเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ และช่วยส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ได้ออกแบบและพร้อมที่จะดูแลให้คุณผ่อนคลาย ไร้กังวล ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยดูแลคุณอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งหมดนี้เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิตอย่างแท้จริง ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3IhKhHR

PUBLISHED : 1 ปีที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน