ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

ประเมินภาวะสมองเสื่อมด้วยการทดสอบการวาดนาฬิกา (The Clock Drawing Test)

ประเมินภาวะสมองเสื่อมด้วยการทดสอบการวาดนาฬิกา (The Clock Drawing Test)

ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่พบได้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งบางครั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลไม่ทันได้สังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจนละเลยการดูแลรักษา และทำให้ภาวะสมองเสื่อมรุนแรงขึ้น

ดังนั้นการได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ เพราะนั่นหมายถึงพวกเขาจะสามารถเข้าถึงตัวเลือกในการดูแลและรักษาได้ทันท่วงที และยังสามารถวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องสำคัญต่าง ๆ ในขณะที่ยังสามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ นั้นได้ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมรวมถึงผู้ดูแลได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรค และกำหนดความคาดหวังในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ร่วมกันได้  

การทดสอบด้วยการวาดนาฬิกาเป็นการทดสอบที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการคัดกรองผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับรู้ ความเข้าใจ และมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งบทความนี้จะพาเรามารู้จักการทดสอบภาวะสมองเสื่อมด้วยการวาดนาฬิกา

 

การประเมินภาวะสมองเสื่อมด้วยการทดสอบการวาดนาฬิกา (clock drawing test)

อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมเป็นอาการที่ไม่ชัดเจน และแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน มีวิธีการประเมินการรับรู้ความคิดและความจำเพื่อบอกถึงภาวะสมองเสื่อมมีหลายวิธี วิธีการประเมินด้วย “การทดสอบวาดนาฬิกา (clock drawing test)” เป็นวิธีการหนึ่งที่ง่ายและรวดเร็วในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม รวมไปถึงโรคอัลไซเมอร์

โดยการทดสอบวาดนาฬิกานี้ เป็นเครื่องมือคัดกรองในแบบอวัจนภาษา (การสื่อสารโดยไม่ใช้ การพูด หรือการอ่านตามตัวหนังสือ)  โดยการให้ผู้ทดสอบนั้นวาดภาพนาฬิกาบนกระดาษ โดยในนาฬิกานั้นต้องมีตัวเลข เข็มนาฬิกา และเวลาที่เจาะจง เพื่อให้ผู้ทดสอบวาดเวลาที่กำหนดให้ลงบนกระดาษ เพราะการที่จะวาดรูปนาฬิกาที่บอกเวลาเฉพาะเจาะจงได้นั้น จำเป็นต้องเข้าใจตำแหน่งของเข็มบนนาฬิกาและต้องตีความเวลาที่ตั้งใจจะวาดได้ด้วย ซึ่งความสามารถนี้มักจะหายไปในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น

 

ข้อดีของการทดสอบการวาดนาฬิกา

ดร.มอริส ฟรีดแมน หัวหน้าฝ่ายประสาทวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ที่สภาบันวิจัยรอทแมน ของ Baycrest (Baycrest’s Rotman Research Institute) เลือกใช้การประเมินด้วยการทดสอบการวาดนาฬิกา เพราะเป็นการทดสอบที่มีความไว (sensitivity) และเห็นผลชัดเจนที่สุด ในการทดสอบนี้ ผู้ที่เข้ารับการทดสอบจะได้รับกระดาษเปล่าหนึ่งแผ่น เพื่อวาดภาพหน้าปัดนาฬิกา โดยใส่ตัวเลขทั้งหมด และวาดเข็มนาฬิกาตามเวลาที่กำหนด ทั้งนี้การกำหนดเวลาที่ต้องวาดมีความสำคัญอย่างมาก โดยเวลาที่กำหนดให้วาดนั้นสามารถใช้ได้หลากหลายเวลา แต่เวลาที่ถูกนำมาทดสอบบ่อยที่สุด คือเวลา 11 นาฬิกา 10 นาที เนื่องจากเป็นเวลาที่เข้าใจผิดได้ง่าย เพราะการที่จะวาดให้ถูกต้องนั้นเข็มนาทีที่สื่อความหมายว่า 10 นาทีต้องอยู่ที่เลข 2 (ผู้ทดสอบต้องเขียนเข็มสั้นชี้ไปที่เลข 11 และเข็มยาวชี้ไปที่เลข 2)

การทดสอบด้วยนาฬิกานอกจากจะเป็นการทดสอบใช้เวลาน้อย และง่ายสำหรับผู้ดูแลแล้ว ยังให้ข้อมูลความผิดปกติของผู้ป่วยแก่แพทย์ได้อีกด้วย เช่น ความผิดปกติด้านการวางแผน ความผิดปกติด้านภาษา เป็นต้น จึงทำให้การทดสอบการวาดนาฬิกานี้ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินภาวะสมองเสื่อมร่วมกับการทดสอบอื่น ๆ

 

แพทย์มีหลักการแปลผลการทดสอบการวาดนาฬิกาอย่างไร

การทดสอบด้วยการวาดนาฬิกานั้นเป็นการทดสอบที่ค่อนข้างง่ายสำหรับฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ในสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการทดสอบ สามารถจัดการการทดสอบได้ แต่การแปลผลและการประเมินผลการทดสอบนั้นยังต้องทำโดยแพทย์หรือนักประสาทจิตวิทยา

การวิเคราะห์ผลการทดสอบการวาดนาฬิกานั้นจะเกี่ยวข้องกับการประเมินกระบวนการของการวาดนาฬิกาของผู้ที่ถูกทดสอบ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าผู้ถูกทดสอบนั้นมีความผิดปกติในการรับรู้อย่างไร ความผิดปกติในการวาดนาฬิกาแต่ละแบบนั้นแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติในการทำงานสมองที่แตกต่างกันออกไป ปัญหาที่พบได้บ่อยจากการประเมินด้วยการวาดนาฬิกาคือความผิดปกติในการทำงานของสมองในส่วนการสั่งการ ได้แก่ เรื่องการวางแผน (planning) ความสนใจ (attention) พฤติกรรมการทำซ้ำ (repetitive behavior) และความผิดปกติของการรับรู้ระยะและทิศทางของวัตถุ (visuospatial deficit) เช่น ขาดความสามารถในการแยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างการมองเห็นกับตำแหน่งของวัตถุ เป็นต้น

 

ตัวอย่างของการวาดนาฬิกาที่ผิดปกติมีดังนี้

Clock A

Clock A คือ ผู้ถูกทดสอบเขียนตัวเลขทั้ง 12 ตัวอยู่ที่ฝั่งเดียวกันของนาฬิกา ซึ่งบอกได้ว่าผู้ถูกทดสอบมีความผิดปกติในเรื่องของการวางแผน

Clock B

Clock B คือ ผู้ถูกทดสอบเขียนตัวเลขเป็นเลขศูนย์ทั้งหมด แปลได้ว่าผู้ถูกทดสอบมีปัญหาด้านภาษา (มีความยากในการเขียนตัวเลขอื่น ๆ ออกมา)

Clock C

Clock C คือ ผู้ถูกทดสอบเขียนนาฬิกาเป็นกรงล้อ ซึ่งบอกถึงการทำหรือคิดอะไรซ้ำ ๆ เช่น การทำสิ่งใด ซ้ำ ๆ โดยไม่หยุด จากในตัวอย่างที่ยกมาให้นี้คือ มีการวาดแบ่งช่องนาฬิกาโดยวาดออกมาจากจุดศูนย์กลางของนาฬิกาคล้ายกับกรงล้อ

Clock D

Clock D คือผู้ถูกทดสอบจะเขียนตัวเลขทั้งข้างในและข้างนอกของนาฬิกา บอกได้ว่าผู้ถูกทดสอบมีความผิดปกติของการรับรู้ระยะและทิศทางของวัตถุ

 

มีการเริ่มใช้การทดสอบการวาดนาฬิกาตั้งแต่เมื่อไหร่?

ต้นกำเนิดของการทดสอบโดยใช้การวาดนาฬิกานั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่เชื่อกันว่ามีการพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 1900 จากนั้นเริ่มมีการกล่าวถึงการใช้การทดสอบนี้ครั้งแรกในทางคลินิก (ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย) ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 (เช่น จากหนังสือเรื่อง The Parietal Lobes ของ MacDonald Critchley) ซึ่งหลังจากนั้นการทดสอบนี้ได้กลายเป็นการทดสอบที่นิยมใช้มากที่สุดการทดสอบหนึ่งในการเป็นเครื่องมือสำหรับคัดกรองความสามารถในการรับรู้และเข้าใจ ทั้งในในทางคลินิกและการวิจัย

ในปี 1994 ดร. ฟรีดแมน ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการวาดนาฬิการ่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพโดยหนังสือ การวาดนาฬิกา: การวิเคราะห์ทางประสาทจิตวิทยา (Clock Drawing: A Neuropsychological Analysis) เป็นคู่มือปฏิบัติสำหรับการทดสอบการวาดนาฬิกา โดยเขียนถึงวิธีการในการประเมินระดับความผิดปกติ ซึ่ง ดร. ฟรีดแมน และทีมของเขานิยมกำหนดเวลาสำหรับการทดสอบเป็น 11 นาฬิกา 10 นาที

 

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการวาดนาฬิกา ที่เบย์เครส (Baycrest)

เบย์เครส (Baycrest) ผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดา ได้เผยว่า ดร. ฟรีดแมน และทีมของเขา ดร. เอสแลม เอบเดลล่าห์ กำลังเป็นผู้นำในการศึกษาร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทรอนโต (Temerty Faculty of Medicine, University of Toronto) เกี่ยวกับลำดับของการวาดนาฬิกา เพื่อประเมินว่าลำดับของการวาดองค์ประกอบต่าง ๆ ของนาฬิกาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยได้หรือไม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของ ทีดีอาร์เอ เมมโมรี คลินิก (TDRA Memory Clinics Database)

 

ค้นพบนิยามใหม่ของการใช้ชีวิตในวัยอิสระ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest  ภายใต้แนวคิดการดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร “Holistic Lifetime Care”

เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 50+ เราอยากมีชีวิตแบบไหน ? คงเป็นคำถามที่ใครหลาย ๆ ได้มองถึงการวางแผนระยะยาว ที่จะใช้ชีวิตในวัยอิสระนี้อย่างจริงจัง และจะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเลือกออกแบบชีวิตและมีที่พักอาศัยที่ดูแลเราไปตลอดชีวิตแบบครบวงจร (Holistic Lifetime Care) มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน มุ่งเน้นการบริการและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive Care) ผสานกับกิจกรรมและสันทนาการต่าง ๆ ระหว่างวัน ผ่านโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ ดูแลโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ที่ร่วมทำงานกับ Baycrest ผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพ  ผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาที่มีประสบการณ์มากกว่า 100 ปี ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อทำให้คุณมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย สะดวกสบาย และอุ่นใจทุก ๆ ด้าน

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพ และชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม 

ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

Toronto Dementia Research Alliance, Scientist Explains, May 31, 2022.
http://baycrest.uberflip.com/i/1479362-brainmatters-fall-2022/11

PUBLISHED : 1 ปีที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน