ถ้าคุณลองคิดย้อนกลับไปถึงวันพิเศษของคุณเมื่อปีที่แล้ว คุณมั่นใจได้แค่ไหนว่าคุณสามารถจดจำเหตุการณ์นั้นได้อย่างแม่นยำ แล้วเหตุการณ์พิเศษที่คล้าย ๆ กันเมื่อ 10 หรือ 40 ปีที่แล้วล่ะ คุณคิดว่าคุณจำเหตุการณ์เหล่านั้นได้แม่นยำแค่ไหน? หากความมั่นใจของคุณลดลงในขณะที่คุณตอบคำถามแต่ละข้อ คุณไม่ได้รู้สึกแบบนั้นคนเดียว เพราะว่าเราส่วนใหญ่กลัวว่าความจำของเราจะไม่น่าเชื่อถือและจะแย่ลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่โชคดีที่ผลการศึกษาล่าสุดของสถาบัน Baycrest ผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดา ได้เปิดเผยผลการศึกษาที่ต่างไปจากที่เราเข้าใจ และเป็นผลการศึกษาให้ผลในทางบวกอีกด้วย
โดยการศึกษานี้ เป็นการทดสอบความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยเกี่ยวกับการจดจำรายละเอียดเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถจำเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำ โดยค่าเฉลี่ยของการจำเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ อยู่ที่ 94% ซึ่งนับว่าเป็นค่าที่สูงมาก และที่สำคัญคือ พบได้ในผู้เข้าร่วมวิจัยทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะมีระยะเวลาของเหตุการณ์ในอดีตผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม (แสดงให้เห็นว่าทั้งอายุที่มากขึ้น และระยะเวลาที่ผ่านไปของเหตุการณ์ ไม่มีผลต่อความแม่นยำของความจำ)
การศึกษาทำให้เราเข้าใจว่าอายุที่มากขึ้นนั้นมีผลต่อความทรงจำอย่างไร?
ดร. เบรน เลวีน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของสถาบันวิจัยรอทเมนของ Baycrest และยังดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยาประจำ มหาวิทยาลัยโตรอนโต กล่าวว่า “การศึกษาข้างต้นแสดงให้เราเห็นว่า ความแม่นยำของการจำเรื่องราวนั้นค่อนข้างดีในสภาวะปกติ อีกทั้งยังคงที่เช่นนี้แม้ว่าเราจะมีอายุเพิ่มขึ้น” และยังกล่าวอีกว่า “ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความจำในผู้สูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง และยังช่วยบอกความแตกต่างของความจำของผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมและผู้ที่ไม่เป็นโรคสมองเสื่อมได้อีกด้วย”
ดร. นิโคลัส ไดมอนด์ นักวิจัยหลักของการศึกษานี้ซึ่งจบการศึกษาจากสถาบันวิจัยรอทแมนของ Baycrest และกำลังเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวอร์เนีย กล่าวว่า “ผลจากการทดสอบความแม่นยำที่ได้คะแนนในระดับสูงที่เราได้จากการศึกษานี้ ทำให้หลายคนประหลาดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิทยาศาสตร์ที่มักจะมีแนวคิดว่าความจำสำหรับเหตุการณ์ครั้งเดียวนั้นไม่น่าเชื่อถือ”
โดยในการศึกษาครั้งนี้ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นจากนักวิชาการประมาณ 400 คน (รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ด้านความจำด้วย) ซึ่งนักวิชาการกลุ่มนี้ได้ ประเมินว่าความแม่นยำของความจำที่ดีที่สุดจะอยู่ประมาณ 40% และคาดว่าความแม่นยำของความจำนี้น่าจะลดลงอีกเมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยมีอายุมากขึ้น หรือเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นผ่านไปนานขึ้น
ทั้งนี้ การประเมินความแม่นยำของความจำในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำนี้ มาจากการศึกษาก่อนหน้านี้ ที่แสดงว่าความจำของเราสามารถถูกแก้ไขได้โดยใช้เทคนิคการทดสอบบางอย่าง ซึ่งนักวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการทดสอบดังกล่าวนั้น ไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนของวิธีการที่เราใช้จำเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันปกติของเราได้
มีการทดสอบความแม่นยำของความจำอย่างไร?
เพื่อทดสอบความแม่นยำของความจำ ในการศึกษานี้นักวิจัยได้ทำออกแบบเหตุการณ์ที่สมจริงและมีการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ (ทางวิทยาศาสตร์) โดยการให้ผู้ร่วมวิจัยทัวร์ชมงานศิลปะและสิ่งแสดงต่าง ๆ ที่จัดแสดงในสถาบันวิจัย Baycrest พร้อมกับมีเสียงบรรยายประกอบเป็นเวลา 30 นาที แล้ว 2 วันหลังจากนั้น ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจะถูกขอให้เล่าทุกอย่างที่จำได้เกี่ยวกับการทัวร์ครั้งนั้นให้กับนักวิจัยฟัง โดยคำตอบจะถูกบันทึกไว้และนำไปตรวจสอบกับข้อเท็จจริง
การใช้เหตุการณ์ที่เป็นมาตรฐานและตรวจสอบได้ เพื่อทดสอบความทรงจำนั้น นับว่าเป็นวิธีการทดสอบวิธีการใหม่ เนื่องจากโดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์จะใช้สิ่งกระตุ้นที่สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ เช่น ชุดคำศัพท์แบบสุ่ม แทนที่จะใช้ประสบการณ์ในชีวิตจริง หรืออาจใช้วิธีการทดสอบความทรงจำของผู้เข้าร่วมวิจัยโดยถามถึงประสบการณ์ที่เคยผ่านมาในอดีตมาเป็นตัววัดความสามารถในการจดจำของผู้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้ว่าประสบการณ์นั้นเคยเกิดขึ้นจริงหรือไม่
ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าความแม่นยำของความจำในผู้เข้าร่วมวิจัยมีค่าสูง (หมายถึง ผู้เข้าร่วมวิจัยบอกได้ว่า มีการเข้าร่วมทัวร์ชมงานศิลปะและบอกได้ถึงลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญ) แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนรายละเอียดปลีกย่อยที่ผู้เข้าร่วมวิจัยจำได้ จะลดลงตามอายุและเวลาที่ผ่านไป นั่นหมายความว่าเรายังสามารถมั่นใจในความจำของเราได้ว่ายังคงแม่นยำ ถึงแม้ว่ารายละเอียดบางส่วนอาจเลือนหายไปเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นและเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
เรามีวิธีการเพิ่มความจำได้อย่างไรบ้าง?
แม้ว่าการลืมรายละเอียดของเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่มีก็สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อเสริมสร้างความจำทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ ได้แก่วันนี้และในอนาคต
การทำซ้ำเป็นระยะ ๆ
เราทราบกันดีว่าการทำซ้ำ ๆ จะเพิ่มความสามารถในการจดจำให้ดีขึ้น และเพื่อให้การทำซ้ำนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้รอเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะทำซ้ำ และเริ่มเว้นระยะเวลาให้นานมากขึ้นก่อนการทำซ้ำในครั้งถัด ๆ ไป การเพิ่มช่วงระยะเวลาระหว่างการทำซ้ำจะช่วยให้การจดจำทำได้ดีขึ้น
การทบทวนความจำ
การฝึกทบทวนความจำ โดยดึงความทรงจำที่มีอยู่หรือที่จากเคยเรียนรู้มาแล้วจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการศึกษาข้อมูลนั้นใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เรียนรู้สิ่งนั้น ๆ แล้ว ให้พยายามจดจำสิ่งเหล่านั้น หลังจากนั้นให้หยุดพักสักระยะหนึ่ง แล้วทำการทบทวนซ้ำโดยการพยายามดึงเอาข้อมูลที่เคยเรียนรู้มาแล้วขึ้นมาทบทวน
การจัดกลุ่มข้อมูล
เราจะจำข้อมูลได้ดีขึ้นเมื่อเราจัดระเบียบข้อมูลในใจ ลองจัดระเบียบรายการซื้อของออกเป็นหมวดหมู่ เช่น จัดกลุ่ม แอปเปิ้ล ลูกแพร์ และส้มไว้ในหมวดหมู่เดียวกัน และจัดถุงขยะกับน้ำยาทำความสะอาด ไว้ในอีกหมวดหมู่หนึ่ง เป็นต้น
การจับคู่บริบทของข้อมูล
เราจะสามารถดึงข้อมูลจากความจำของเราได้ง่ายขึ้นเมื่อเราอยู่ในบริบทที่คล้ายกัน (เช่น สถานที่ที่คล้ายกันหรืออารมณ์ที่คล้ายกัน) กับบริบทที่เราได้เรียนรู้ข้อมูลนั้น และหากต้องการจำข้อมูลในสถานที่เฉพาะ ลองศึกษาหรือฝึกฝนข้อมูลนั้นในสถานที่นั้น ๆ หรือหากต้องการให้จดจำสิ่งนั้นได้ดีขึ้นโดยรวม ลองศึกษาหรือฝึกฝนข้อมูลนั้นในบริบทที่แตกต่างกันหลาย ๆ บริบท (เพราะจะช่วยให้การจดจำของเรากระจายไปในหลาย ๆ บริบท ซึ่งช่วยให้เรียกคืนความจำได้ง่ายขึ้นในสถานการณ์ต่างกันหลาย ๆ แบบ)
การคิดให้เป็นภาพ
จะช่วยให้คุณจดจำข้อมูลได้ดีขึ้นเนื่องจากเราจะจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเราได้สัมผัสกับข้อมูลนั้นด้วยหลาย ๆ ประสาทกายภาพ เช่น การมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัส
การศึกษาของสถาบัน Baycrest
การวิจัยที่สถาบัน Rotman Research Institute (RRI) ของ Baycrest ทำให้เราเข้าใจความซับซ้อนของสมองมนุษย์มากขึ้น โดยมีการให้ความสำคัญกับเรื่องการเกิดของโรคเกี่ยวกับการเสื่อมของสมองและสุขภาพของสมอง โดยนักวิจัยของ RRI และนักวิจัยอื่น ๆ ของสถาบัน Baycrest ได้ส่งเสริมการดูแลและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของวัยอิสระอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ที่อยู่ในวัยอิสระสามารถเพลิดเพลินกับชีวิตได้อย่างเต็มที่
สรุป
หลาย ๆ คนอาจเข้าใจว่าความทรงจำของเราจะแย่ลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรือผ่านเวลาไปนานหลายปี แต่ความจริงแล้วความทรงจำของเราค่อนข้างแม่นยำ แม้รายละเอียดอาจจะขาดหายไปบ้างตามเวลาที่ผ่านไป เราสามารถทำให้ความทรงจำของเราแม่นยำได้มากขึ้น โดยการฝึกฝนสมองของเราด้วยการ ฝึกคิดซ้ำ ๆ จัดระบบความจำให้เป็นหมวดหมู่ อาจฝึกร่วมกับการจดจำบริบท หรือลองนึกถึงข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นภาพในใจ (เช่น ฝึกการจดจำสิ่งที่อ่านโดยฝึกคิดให้เป็นภาพเรื่องราว) และยังสามารถฝึกเพิ่มเติมให้ดีขึ้นได้โดยดึงความจำเหล่านั้นออกมาทบทวนอยู่เสมอ เพียงเท่านี้เราก็สามารถดูแลความจำและสุขภาพของสมองด้วยตัวเราเองได้ทุกที่ และตลอดเวลา เพราะการดูแลสุขภาพสมองนั้นเป็นสิ่งที่เราควรทำอยู่เสมอและทำเป็นประจำในทุกช่วงวัย
ฝึกคิด ฝึกจำ ทบทวนความจำ ให้สมองของเราได้เรียนรู้ซ้ำ ในวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร
สมองของคนเรานั้นสามารถฝึกฝน เพื่อให้เราสามารถจดจำรายละเอียดของเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ในความทรงจำให้คงอยู่มากขึ้น ลดความกังวลเกี่ยวกับภาวะความลืมเลือน และเพื่อเตรียมความพร้อมและสมองของเรามีเข้าสู่วัย 50+ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ
พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม
ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree
โทร. 1265
LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://baycrest.uberflip.com/i/1362136-brainmatters-spring-2021/9?