ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะสมองเสื่อม
ปัจจุบันมีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า เกือบ 40% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับพฤติกรรม ในการใช้ชีวิต และการเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การเข้าสังคม การกระตุ้น การทำงานของสมอง (mental stimulation) การดูแลเรื่องการได้ยิน การควบคุมความดันเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำหนักตัว โดยการเลือกรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean-style diet) รวมไปถึงการหลีกเลี่ยง การดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีที่ไม่สามารถป้องกันได้ วิธีการรักษาทางยาอาจจะกลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มียาชนิดใดที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีผลยับยั้งหรือป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราควรหยุด การพัฒนาหรือศึกษายาที่สามารถป้องกันหรือยับยั้งโรคสมองเสื่อม
ยาใหม่ที่เป็นความหวังในการรักษาภาวะสมองเสื่อม
เมื่อเร็ว ๆ นี้มียาใหม่ที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น ชื่อว่า "lecanemab" ซึ่งได้รับ "การอนุมัติโดยเร่งรัด" จากองค์กรด้านอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) โดยยา lecanemab เป็นยาที่ให้ผ่านทางหลอดเลือดดำ โดยจะให้ในผู้ที่มีภาวะรู้คิดบกพร่องแบบไม่รุนแรง (mind cognitive impairment) หรือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม แบบไม่รุนแรง (mild severity dementia) ที่มีการสะสมของโปรตีนอะไมลอยด์ในสมอง โดยมีข้อมูลจากการศึกษา ทางคลินิกล่าสุด แสดงให้เห็นว่าหลังจากใช้ยา lecanemab เป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง ผู้ป่วยได้คะแนนการประเมินระดับของ ภาวะสมองเสื่อมลดลง เช่น ความสามารถด้านความจำ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา ซึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับยา lecanemab มีผลการประเมินดีขึ้นถึง 27% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (placebo)
lecanemab เป็นยารักษาอัลไซเมอร์ตัวที่ 2 ที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้มียา aducanumab ที่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นยาที่มีกลไลออกฤทธิ์กับ โปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ (beta amyloid) ซึ่งเป็นโปรตีนที่จะมีการยึดติดกันเป็นกลุ่มก้อนและสะสมในสมอง และมีสมมติฐานว่า เป็นสาเหตุการเกิดภาวะสมองเสื่อม แต่ในประเทศแคนาดายังไม่ได้มีการอนุมัติให้ใช้ยา aducanumab ภายในประเทศ
ผลข้างเคียงของยาใหม่
แต่ยา lecanemab ก็มีผลข้างเคียง (ที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาด้วย) เช่น ภาวะสมองบวม ภาวะเลือดออกในสมอง ในผู้ป่วยบางราย ซึ่งภาวะเหล่านี้ทำให้เสียชีวิตได้ จึงทำให้ยังมีข้อสงสัยว่ายาใหม่ตัวนี้จะถูกนำมาใช้ในวงกว้างได้หรือไม่
โดย ดร.ฮาวาร์ด เชิร์ตโคว์ ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของ CCNA (Canadian Consortium on Neurodegeneration and Aging) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Baycrest ผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดา และนักวิทยาศาสตร์อาวุโสของสถาบันวิจัย Rotman ได้ชี้ให้เห็นถึงความท้าท้ายของยา lecanemab ในการให้สัมภาษณ์กับ The Globe and Mail ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566
ในบทสัมภาษณ์ ดร.เชิร์ตโคว์ ตั้งข้อสังเกตว่า “ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับโปรตีนอะไมลอยด์นั้นบอกว่า คนที่มีโปรตีน อะไมลอยด์ในสมองจะเป็นโรคสมองเสื่อม แต่ก็มีข้อเท็จจริงที่ว่า ในผู้สูงวัยหลาย ๆ คนที่มีโปรตีนอะไมลอยด์ ในสมองไม่ได้มีภาวะสมองเสื่อม” และ ดร. เชิร์ตโคว์ยังกล่าวอีกด้วยว่า “มีหลักฐานว่ายา lecanemab ให้ผลดีกว่า aducanumab” จากการศึกษาทางคลินิก
อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของยา ว่ามีมากกว่าผลเสียหรือไม่ ดร.เชิร์ตโคว์ ได้กล่าว ในการให้สัมภาษณ์กับ The Globe และยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยอาจควบคุมอาการของโรคสมองเสื่อมระดับเริ่มต้น ไปสู่ระดับรุนแรงโดยใช้เวลา 4 ถึง 5 ปี แทนที่จะใช้เวลา 3 ถึง 4 ปี
การศึกษายาอื่น ๆ ที่รักษาภาวะสมองเสื่อม
นอกจากยา lecanemab ก็ยังมียารักษาโรคอัลไซเมอร์ชนิดอื่น ๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาในศูนย์วิจัยทางสมองต่าง ๆ อย่างเช่น ที่สถาบัน Baycrest ที่มุ่งศึกษาการสะสมของโปรตีนอะไมลอยด์ในสมอง รวมไปถึงลักษณะอื่น ๆ ของโรค เช่น การอักเสบในสมอง
และมีบางหลักฐานชี้ให้เห็นว่า แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือก หรือการติดเชื้อบางประเภท เช่น ไวรัสที่ทำให้เป็นเริม (herpes virus) อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสะสมของโปรตีนอะไมลอยด์ จากเหตุผลเหล่านี้ทำให้บอกได้ว่า โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์เป็นผลที่มีสาเหตุจากการเกิดโรคต่าง ๆ รวมไปถึงพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
การรักษาโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต อาจจะเป็นการรักษาโดยการใช้ยาหลาย ๆ ชนิดร่วมกัน โดยเป็นยาที่มุ่งเป้า ไปที่สาเหตุหลาย ๆ สาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อม
สรุป
ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคสมองเสื่อมในปัจจุบัน เน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ของโรคสมองเสื่อม ซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งที่สามารถใช้วิธีการนี้ในการป้องกันโรคได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่การปรับเปลี่ยน และจัดการกับภาวะดังกล่าว แต่ยังไม่สามารถช่วยการชะลออาการ หรือความรุนแรงของโรคได้ ทำให้จำเป็นต้องได้รับ การรักษาโดยการใช้ยา
โดยปัจจุบันมีการพัฒนายากลุ่มใหม่ ที่สามารถชะลออาการของโรคได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้ก็ยังมีผลข้างเคียง ที่ค่อนข้างรุนแรง และทำให้ยังมีข้อถกเถียงกันว่าประโยชน์ที่ได้จากยานี้มีโทษมากกว่าหรือไม่ ดังนั้นเราคงต้องติดตาม ผลการศึกษาเรื่องความปลอดภัยของยานี้ต่อไป
สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุดสำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร
ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า ทำให้มีการคิดค้นและหายาที่จะมาช่วยในการป้องกัน การเกิดภาวะสมองเสื่อม ดังนั้นการรักษาด้วยยาร่วมกับการมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีนั้นสามารถช่วยให้ คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ
พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพ และชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม
ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree
โทร. 1265
LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://baycrest.uberflip.com/i/1497897-brainmatters-spring-2023/7?