ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น

การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น

ผู้สูงวัยนั้นกำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะต้องมีการแยกตัวจากสังคม และคนใกล้ชิดเป็นเวลานาน ทั้งนี้จากการศึกษาระดับนานาชาติ รายงานว่า ถึงแม้จะพบว่ามีภาวะซึมเศร้าที่สูงขึ้นในผู้สูงวัย แต่ผู้สูงวัยนั้นสามารถรับมือกับสถานการณ์ ดังกล่าว ได้ดีกว่าในวัยหนุ่มสาว

เชอร์ลี่ย์ คูมูฟ วัย 90 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ The Baycrest Terraces ในนอร์ธยอร์ค (ประเทศแคนาดา) มา 6 ปีครึ่งแล้วกล่าวว่า เธอจะมีความรู้สึกเหงาอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตอนเย็นหรือในช่วงกลางคืน โดยคูมูฟได้กล่าวกับสำนักข่าว CTV ของโตรอนโตว่า “การล็อกดาวน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19 เป็นอะไรที่ท้าทายและยากมากสำหรับเธอ เพราะการแยกตัวออกจากสังคมและคนใกล้ชิด มันเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับเธอ รวมไปถึงการที่ไม่สามารถทำกิจกรรมที่อยากทำได้ แต่เธอก็พยายามอย่างดีที่สุดในการใช้ชีวิตในช่วงการล็อกดาวน์”

คูมูฟยังกล่าวอีกว่า “การทำให้ตัวเองไม่รู้สึกเหงาเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อสุขภาพจิต และเมื่อเวลาที่คุณ รู้สึกเหงา คุณจะรู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอมาก ดังนั้นเธอจึงไม่ปล่อยให้ตัวเองตกอยู่กับความเหงาและ อ่อนแอนานจนเกินไป แต่เธอก็รู้สึกว่าถึงอย่างไรความเหงาและอ่อนแอก็ต้องเกิดขึ้นบ้าง แต่เธอจะให้เวลา กับความเหงาและอ่อนแอนั้นเพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น เพราะเธอก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ที่ไม่สามารถห้ามไม่ให้ความเหงาและอ่อนแอเกิดขึ้นได้”

คูมูฟ ได้ตีพิมพ์หนังสือ 6 เล่มเกี่ยวกับชีวิตชาวยิวในโตรอนโตที่เธอได้พบเห็นมาตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา ของเธอ เธอได้ใช้การเขียนหนังสือช่วยในการรักษาบำบัดจิตใจของเธอ เมื่อเธอรู้สึกเหงาและอ่อนแอ เธอจะพยายามลุกขึ้นมาทำบางสิ่งอย่างอย่าง เช่น การเขียนหนังสือ หรือการโทรศัพท์เพื่อพูดคุย ติดต่อกับเพื่อน หรือครอบครัว

คูมูฟ กล่าวว่า “ด้วยเหตุนี้ฉันจึงไม่รู้สึกเสียใจนานจนเกินไป ฉันคิดว่าการเสียใจบ้างเล็กน้อยนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามันมากจนเกินไปมันไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก” ดังนั้น คูมูฟจึงไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยวมากจนเกินไป ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะเธอมีวิธีการในการจัดการกับความรู้สึก ของตัวเองได้ดี

นี่เป็นแนวโน้มที่ทำให้ดอนน่า โรส แอดดิส นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัย Rotman ที่ Baycrest ได้ทำการศึกษาวิจัยออนไลน์ระหว่างประเทศกับคน 700 คน โดยศึกษาทั้งในกลุ่มวัยหนุ่มสาวและผู้สูงวัย ตลอดช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยแอดดิส เป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์อาวุโส ที่สถาบันวิจัย Rotman ของ Baycrest และยังเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต และเป็นประธานของการวิจัยจำนวน 150 งานวิจัยในสาขาประสาทวิทยาการรับรู้และความจำในผู้สูงวัย

แอดดิสกล่าวว่า การอยู่คนเดียวและความรู้สึกเหงานั้นมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ทั้งในวัยหนุ่มสาว และในผู้สูงวัย แต่อายุนั้นก็ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่อสุขภาพจิต แอดดิสได้กล่าวกับสำนักข่าว CTV ของโตรอนโตว่า “น่าสนใจว่า จำนวนวันที่ผู้สูงวัยต้องแยกตัวจากสังคมเป็นปัจจัยที่เพิ่มภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงวัย” และ “นักวิจัยเชื่อว่าภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยนี้เกิดจากการที่ผู้สูงวัยรู้สึกว่าได้สูญเสียเวลา ที่พวกเขาจะได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนที่พวกเขารักไป”

ในระหว่างการล็อกดาวน์ครั้งแรกแอดดิสพบว่า หลังจากที่มีการแยกตัวออกมา 20 วัน ผู้สูงวัยเริ่มประสบกับปัญหาภาวะซึมเศร้ามากขึ้นและมีความรู้สึกนี้คงอยู่ตลอดช่วงของการแพร่ระบาด

การล็อกดาวน์เพิ่มภาวะซึมเศร้าให้วัยหนุ่มสาวมากกว่าผู้สูงวัย

แอดดิสกล่าวว่า จากกลุ่มตัวอย่าง มีผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ตามลำพังเป็นจำนวน 2 เท่าเมื่อเทียบกับ วัยหนุ่มสาว แต่กลับพบว่ากลุ่มวัยหนุ่มสาวมีความรู้สึกเหงาเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้สูงวัย และกลุ่มผู้สูงวัย สามารถอดทนและรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดได้ดีกว่าวัยหนุ่มสาว และยังพบว่าสุขภาพจิต ของคนวัยหนุ่มสาวดูเหมือนจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากความเสี่ยงที่จะสัมผัสและติดเชื้อโควิด-19 เธอเชื่อว่าผู้สูงวัยอาจสามารถรับมือได้ดีกว่าเนื่องจากมีประสบการณ์และสามารถจัดการมุมมองต่าง ๆ ในชีวิตได้ดีกว่าวัยหนุ่มสาว

สภาวะจิตใจเมื่อต้องแยกตัวจากสังคม

ดร. ซาเมียร์ ซินฮา ผู้อำนวยการด้านผู้สูงวัยที่ศูนย์สุขภาพซีนายและมหาวิทยาลัยเฮลท์เนทเวิร์ค กล่าวว่า ในช่วงเริ่มต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผู้สูงวัยที่ไม่ได้ติดต่อกับลูกหลาน รวมไปถึงไม่สามารถไปทำกิจกรรมต่าง ๆ และเข้าสังคมได้ ทำให้ผู้สูงวัยขาดการมีปฏิสัมพันธ์ กับทั้งครอบครัวและสังคม และในตอนที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้เข้าสู่ปีที่ 3 มันเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นสำหรับผู้สูงวัย เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไป

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยหลาย ๆ คนที่การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิต และการมีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น การได้เล่นกับลูกหลาน การมีกิจกรรม หรือการเข้าร่วมสังคม”

“คุณจะเห็นได้เลยว่าการแยกตัวออกจากสังคมมีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพจิต และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงวัยหลายคน เมื่อพวกเขาต้องแยกตัวหรือถูกแยกจากผู้อื่นเป็นเวลานาน"

ดร. ซินฮากล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญที่ต้องยอมรับนั่นคือผู้สูงวัยนั้นกำลังพลาดประสบการณ์ เหมือนกับคนหนุ่มสาว เช่น การฉลองวันเกิด ซึ่งอาจเพิ่มความรู้สึกของการสูญเสียให้พวกเขามากขึ้น ความรู้สึกเหงาที่ยาวนานขึ้นจะเพิ่มระดับของความซึมเศร้าและความกังวลมากขึ้น และเขาพบว่า คนกลัวที่จะกลับไปเริ่มต้นสื่อสารกับคนอื่นและมีความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ (โอมิครอน) ดร. ซินฮาคิดว่าเหตุผลนี้เป็นหนึ่งในสิ่งที่คนกลัวที่จะกลับมามีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จนเกือบจะเป็นสาเหตุของความเหงา เศร้า และความรู้สึกหมดหวัง และมันถึงจุดที่ว่าผู้คนเริ่มไม่อยาก ที่จะไปมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะพวกเขาไม่แน่ใจว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร และไม่แน่ใจว่า อะไรคือสิ่งที่ปลอดภัย ซึ่ง ดร. ซินฮาเชื่อว่านี่จะทำให้รู้สึกกังวลมากขึ้นไปอีก

การดูแลสุขภาพจิตใจผู้สูงวัยในช่วงที่ต้องมีการแยกตัว

แอดดิสกล่าวว่า การรักษากิจวัตรประจำวันที่คุ้นเคย การได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ได้หาโอกาสทำกิจกรรม สันทนาการ หรือหาโอกาสออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงวัย และ Baycrest มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัย และโปรแกรมในการผ่อนคลายที่หลากหลายเพื่อ บรรเทาความเหงาสำหรับผู้พักอาศัยและสำหรับผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ที่บ้านของตัวเอง

ดร. ซินฮากล่าวว่า “สิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงวัยในช่วงที่มีข้อจำกัดเรื่องการติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น คือเมื่อพวกเขามีความรู้สึกไม่ดี ไม่สบายใจมันเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขปัญหาด้านจิตใจเหล่านั้น ให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง สิ่งสำคัญคือเมื่อเกิดความรู้สึกไม่ดี ไม่สบายใจขึ้นมา ให้ลองปรึกษากับผู้อื่น ซึ่งอาจให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้”

สรุป

จากภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทำให้คนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตเปลี่ยนไป มีปฏิสัมพันธ์กัน ลดลง หรือต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้น ซึ่งภาวะเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัย การต้องแยกตัวจากสังคม การไม่มีกิจกรรม หรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมยิ่งอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและเป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตได้มากขึ้น การรับฟังปัญหาความไม่สบายใจ การสร้างบรรยากาศและการหากิจกรรมให้ผู้สูงวัย ได้มีโอกาส ทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น จะช่วยลดความเหงาและมีส่วนช่วยให้สุขภาพจิตและสุขภาพร่างกาย แข็งแรงขึ้นได้

สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุด สำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่า ของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ ให้คุณได้อยู่ในสังคมหลากหลายวัยในโครงการ The Forestias พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริม สุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพ และชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://toronto.ctvnews.ca/mobile/depression-levels-increase-the-longer-older-adults-are-isolated-but-they-are-resilient-research-shows-1.5755352

PUBLISHED : 1 ปีที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน