สิ่งสำคัญของการมีใบขับขี่นั้น คือความรู้สึกถึงการได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ เปิดโอกาสให้ตัวเราเอง ได้ไปไหนมาไหนโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร กำหนดเส้นทางที่จะไปได้อย่างเต็มที่ด้วยตัวเอง
สำหรับหลาย ๆ คน การขับรถคงเริ่มตั้งแต่ตอนที่ยังหนุ่มสาวและหยุดไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเวลาไหนที่เราไม่ควรจะขับรถ?
เข้าใจโรคอัลไซเมอร์! ไม่เป็นอันตรายจากการขับรถ
เมื่อภาวะสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้คุณต้องค่อย ๆ ใช้เวลาพิจารณา ถึงการปรับพฤติกรรม การใช้ชีวิตใหม่ รวมถึงการขับรถ โดยเฉพาะเมื่อสังเกตได้ว่าสุขภาพทางร่างกายและสมองเสื่อมถอยลง นั้นถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ตามข้อมูลของสมาคมอัลไซเมอร์แห่งแคนาดาระบุว่า ในประเทศแคนาดา มีผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมอยู่ประมาณ 597,000 ราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 955,900 ราย ภายในปี พ.ศ. 2573
ดร. Mark Rapoport จิตแพทย์ผู้สูงวัยและรักษาการหัวหน้าแผนกจิตเวชศาสตร์ผู้สูงวัย ประจำศูนย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ Sunnybrook Health Sciences Center ระบุว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัคร ที่มีภาวะสุขภาพดี ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในระดับไม่รุนแรง จะมีทักษะในการขับรถที่ด้อยประสิทธิภาพ อย่างเห็นได้ชัด และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม การต้องเลิกขับรถ หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้น เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากและกระทบกระเทือนจิตใจเป็นอย่างมาก
เพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว ดร. Gary Naglie รองประธานฝ่ายบริการทางการแพทย์และหัวหน้า คณะทำงาน Baycrest (เบย์เครสต์) ผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดา และ ดร. Rapoport พร้อมด้วยทีมนักวิจัย จากสำนักวิจัยอาการเสื่อมของระบบประสาทในผู้สูงวัย ของประเทศแคนาดา Canadian Consortium on Neurodegeneration in Aging (CCNA) ได้พัฒนาแผนกลยุทธ์เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและการขับขี่ (Driving and Dementia Roadmap) ภายใต้เว็บไซต์ชื่อ drivenanddementia.ca ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ออนไลน์ที่โดดเด่น มีการรวบรวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ วิดีโอ แบบฝึก และเอกสารอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลิกขับรถในแบบที่คำนึงถึงตัวบุคคล แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังไม่ลืมที่จะครอบคลุมไปถึงครอบครัวหรือชุมชนรอบตัวด้วย
แผนกลยุทธ์เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและการขับขี่มีการปรับให้เหมาะกับกลุ่มคนสามกลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงวัยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม และบุคลากรทางการแพทย์
ดร. Gary Naglie กล่าวว่า “ท่ามกลางเรื่องต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย แผนกลยุทธ์เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม และการขับขี่ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมว่าส่งผลต่อการขับขี่อย่างไรบ้าง โดยในแผนกลยุทธ์ฯ จะมีข้อมูลที่ช่วยประเมินว่า เมื่อไรที่การขับขี่จะไม่ปลอดภัยต่อผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม และจะปรับตัวอย่างไรหลังจากตัดสินใจว่าจะเลิกขับรถและไม่สามารถขับรถได้อีกต่อไป”
ตามที่ ดร. Rapoport กล่าวว่า “บางรายที่เป็นโรคสมองเสื่อมในระดับไม่รุนแรงอาจยังคงขับรถได้ อย่างปลอดภัย และบางรายอาจต้องเลิกขับรถทันที สิ่งสำคัญคือต้องระวังว่าเมื่อโรคได้พัฒนาไปสู่ระดับที่ รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องเลิกขับรถในที่สุด
อาจเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าเมื่อไรกันแน่ที่การขับรถจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป หลังการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม สิ่งสำคัญที่ตัวเราและครอบครัวสามารถทำได้คือการเฝ้าสังเกตลักษณะการขับรถว่าเปลี่ยนไปไหม และประเมินดูว่าตนเองสามารถขับรถอย่างปลอดภัยได้ต่อไปหรือไม่ สำหรับผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม ในระดับปานกลางหรือรุนแรง การขับรถนับว่าเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะการทำงานของสมองซึ่งจำเป็น ต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็วและการตัดสินใจที่ฉับพลัน เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่นั้นได้ เสื่อมถอยลงตามไปด้วย เมื่อเวลานั้นมาถึง คุณอาจจำเป็นต้องหยุดการขับรถ
ข้อมูลของแผนกลยุทธ์เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและการขับขี่นั้นรวมถึงเทคนิควิธีต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตขับขี่และทางเลือกในการเดินทางสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดคุยกันถึงเรื่องการเลิกขับรถ และเคล็ดลับเกี่ยวกับการปรับตัวและวางแผนล่วงหน้า
รวมถึงผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมในการตัดสินใจ รวมทั้งการประเมินสมรรถภาพในการขับขี่นั้นรวบรวมอยู่ในเว็บไซต์ดังกล่าวทั้งหมดแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในบทความของ Globe and Mail ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของประเทศแคนาดา ดร. Naglie แนะนำให้มีการพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าวในเวลาที่เหมาะสม โดยได้กล่าวว่า “สิ่งสำคัญคือการพูดคุยกันตั้งแต่เนิ่น ๆ และโน้มน้าวให้ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมหยุดขับรถโดยสมัครใจหรือเตรียมตัวไว้ ให้พร้อมเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลิกขับรถ ทั้งนี้ ก็เพื่อไม่ทำให้เกิดความตื่นตระหนก และต่อต้านการเลิกขับรถ”
เมื่อเร็ว ๆ นี้ แผนกลยุทธ์ฯ ดังกล่าว ได้ถูกจัดให้อยู่ในแพลตฟอร์มซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization’s: WHO) โดยแผนกลยุทธ์ฯ ดังกล่าว สามารถเข้าไปอ่านและค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ drivinganddementia.ca
ใช้ชีวิตช่วงวัยอิสระอย่างปลอดภัย เดินทางด้วยความอบอุ่นใจเมื่ออยู่ภายใต้การดูแล ของผู้เชี่ยวชาญที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest
การอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีระบบดูแลความปลอดภัย และมีสิ่งอำนวยสะดวกอย่างครบครัน ทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตและเดินทางไปไหนมาไหนอย่างอิสระ มีความสุข และไร้กังวลด้วยบริการ Concierge ที่ช่วยติดต่อเรียกบริการรถยนต์ให้คุณได้สะดวก 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะไปที่ไหนเมื่อไร
ทั้งหมดนี้คือแนวคิดของ The Aspen Tree The Forestias ที่ได้ออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ ให้คุณได้อยู่ในสังคมหลากหลายวัยในโครงการ The Forestias พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Lifetime Care) ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ
พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพ และชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม
ใช้ชีวิตทุกมิติในช่วงวัยอิสระ ไร้กังวลอบอุ่นใจ ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree
โทร. 1265
LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://baycrest.uberflip.com/i/1497897-brainmatters-spring-2023/15?