ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

ผลการศึกษาพบ!..การทำงานอาสาสมัครได้ทั้งความสุข สุขภาพ และลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม

ผลการศึกษาพบ!..การทำงานอาสาสมัครได้ทั้งความสุข สุขภาพ และลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม

จากการรวบรวมข้อมูลการศึกษาซึ่งมีการตีพิมพ์เผยแพร่จำนวน 73 การศึกษา พบหลักฐานที่น่าสนใจ และอาจนำไปสู่หัวข้อการวิจัยใหม่ที่เกี่ยวกับเรื่องการเป็นอาสาสมัคร อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้

การศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมอาสาสมัครต่อสุขภาพ

ที่เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา ผู้สูงวัยที่ยังทำกิจกรรมโดยการช่วยงานอาสาสมัครนั้น ได้รับประโยชน์มากกว่าแค่การได้บำเพ็ญประโยชน์ เพราะการเป็นอาสาสมัครยังทำให้ผู้สูงวัยเองมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย การศึกษาซึ่งนำโดยสถาบันวิจัย Rotman (RRI) ของ Baycrest ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PsychologicalBulletin เมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นการศึกษาชิ้นแรก ที่เป็นการเก็บรวบรวมหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประโยชน์ของงานอาสาสมัคร ที่มีต่อสุขภาพจิตสังคม (psychosocial) ของผู้สูงวัย

ดร.นิโคลแอนเดอร์สัน หัวหน้าทีมผู้วิจัยและทีมนักวิทยาศาสตร์ จากศูนย์วิชาการในประเทศแคนาดาและอเมริกา ได้ทำการศึกษารวบรวมงานวิจัย 73 งานวิจัย ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวผู้สูงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มีบทบาทในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร

สำหรับงานวิจัยที่จะถูกคัดเลือกมาเพื่อทำการศึกษารวบรวม จะต้องเป็นการวิจัยที่มีการประเมินภาวะจิตสังคม ร่างกาย และ/หรือภาวะการรู้คิด ซึ่งเป็นผลที่เกี่ยวเนื่องจากการทำกิจกรรมอาสาสมัคร เช่น ความสุข สุขภาวะร่างกาย ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในด้านการคิดและการประมวลผล ความรู้สึกเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคม และความพึงพอใจในชีวิต

ดร. แอนเดอร์สัน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของสถาบัน Rotman (RRI) ของ Baycrest และยังเป็นรองศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยโทรอนโตกล่าวว่า “เป้าหมายของเรา คือการทำให้ได้ภาพรวมที่ครอบคลุมมากขึ้นในส่วนของความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกิจกรรมอาสาสมัครในกลุ่มผู้สูงวัย และเรายังได้พบแนวโน้มหลายอย่างที่ทำให้มองเห็นภาพรวม ว่าการทำงานอาสาสมัคร เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อความแข็งแรงของสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีในช่วงวัยอิสระ”

ผลการวิจัยพบว่า…

ผลการวิจัยสำคัญที่พบ ได้แก่

  • การทำงานอาสาสมัคร สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าที่ลดลง มีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น มีข้อจำกัดในการทำงานที่น้อยกว่า และมีอายุที่ยืนยาวขึ้น
  • โดยประโยชน์ต่อสุขภาพเหล่านี้ คาดว่าจะขึ้นอยู่กับการทำงานอาสาสมัครอย่างพอประมาณ เพราะเมื่อเลยจุดอิ่มตัวจุดหนึ่ง ประโยชน์ที่ได้รับจะไม่เพิ่มไปกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งจุดอิ่มตัวนี้เหมือนจะอยู่ที่ 100 ชั่วโมงต่อปี หรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • ผู้สูงวัยที่มีภาวะเปราะบาง เช่น มีโรคประจำตัว น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำงานอาสาสมัคร
  • ความรู้สึกว่าได้รับการชื่นชม หรือเป็นที่ต้องการจากการได้ทำงานอาสาสมัคร ช่วยทำให้ประโยชน์ของการทำงานอาสาสมัครต่อสุขภาพจิตสังคมมีมากขึ้น

ดร.แอนเดอร์สัน ยังกล่าวอีกว่า “เมื่อมองโดยรวมผลการวิจัยเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่างานอาสาสมัคร สัมพันธ์กับสุขภาพที่ดี และกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้มากมาย” และในความเป็นจริง เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มผู้สูงวัยที่ทำและไม่ได้ทำงานอาสาสมัคร พบว่าการทำงานอาสาสมัครในปริมาณที่เหมาะสม มีความสัมพันธ์กับอัตราการเป็นโรคความดันสูง และการเกิดสะโพกหักที่ลดลง

หนึ่งในข้อสรุปที่ทำให้ทีมวิจัยมีความกังวลคือ "มีการศึกษาไม่มากนัก" ที่ศึกษาประโยชน์ของการทำกิจกรรมอาสาสมัคร ต่อการทำงานของสมองด้านการรู้คิดในผู้สูงวัย และในงานการศึกษานี้ยังระบุอีกว่า "ยังไม่มีการศึกษาใดเลย" ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำกิจกรรมอาสาสมัคร กับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม หรือความสัมพันธ์ระหว่างการทำกิจกรรมอาสาสมัคร กับภาวะอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย เช่น โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง

มีการคาดการณ์ว่า ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยเพิ่มจาก 30 ล้านคนทั่วโลก เป็นมากกว่า 65 ล้านคนในปี 2030 (ข้อมูลจากองค์กรอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ปี 2012) ดร.แอนเดอร์สันเรียกตัวเลขที่น่าตกใจนี่ว่า "การละเลยที่น่าตกใจ" ที่วงการวิจัยทางประสาทวิทยายังไม่มีการศึกษา เกี่ยวกับการทำงานอาสาสมัครเพื่อลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม หรือชะลอการดำเนินของโรค

ข้อสรุปของการศึกษาและการศึกษาต่อไปในอนาคต

งานวิจัยเรื่องนี้ได้ให้ข้อสรุปว่า “เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักวิจัยจะเพิ่มตัวชี้วัดทางด้านการรู้คิด และประมวลผลลงไปในงานวิจัยในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้แบบทดสอบทางประสาทจิตวิทยาที่ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานอาสาสมัครกับความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม แบบต่าง ๆ และความผิดปกติทางสมองในเบื้องต้น”

ศูนย์วิชาการทางการแพทย์ ที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้ร่วมกันกับสถาบันวิจัย Baycrest และมหาวิทยาลัยโทรอนโต ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยในผู้สูงวัยแห่งควิเบก ศูนย์วิจัย CHU แห่งควิเบกและมหาวิทยาลัยลาวาล ศูนย์การแพทย์ทหารผ่านศึกโพรวิเดนซ์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (ซานฟรานซิสโก) มหาวิทยาลัยวินด์เซอร์ และมหาวิทยาลัยยอร์ก โดยงานวิจัยนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งแคนาดา

ดร.แอนเดอร์สัน และทีมวิจัยนานาชาติ พร้อมด้วยอาสาสมัครผู้สูงวัย 33 คน เป็นส่วนหนึ่งของทีมบราโว่ (BRAVO) ซึ่งย่อมาจาก Baycrest Research About Volunteering in Older Adults เป็นทีมวิจัยของ Baycrest ด้านการอาสาสมัครในผู้สูงวัยโดยเฉพาะ ทีมบราโว่ได้เริ่มทำการวิจัยชิ้นที่สองซึ่งเตรียมจะตีพิมพ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเป็นการวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ในด้านจิตสังคม กายภาพ และการรู้คิดของการทำงานอาสาสมัครในช่วงวัย 50+ โดยทีมบราโว่ได้ทำการศึกษาวิจัย ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีอายุเกินกว่า 50 ปีที่ Baycrest มาโดยตลอดในช่วงห้าปีที่ผ่านมา

สรุป

การทำงานอาสาสมัครในผู้สูงวัย นอกจากจะเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมแล้ว จากการศึกษา รวบรวมงานวิจัยที่นำโดยสถาบัน Baycrest ยังพบว่าการทำกิจกรรมอาสาสมัคร ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้สูงวัย ทั้งทางด้านร่างกาย เช่น ลดความเสี่ยงต่อการหกล้มสะโพกหัก ด้านความคิดและจิตใจ เช่น ลดความรู้สึกและภาวะซึมเศร้า มีความคิดความจำที่ดี ด้านจิตสังคม เช่น ลดการแยกตัวออกจากสังคม และยังส่งผลในการลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย และที่สถาบัน Baycrest ก็ยังมีโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาถึงผลของการทำงานอาสาสมัคร ที่มีผลโยชน์และส่งผลดีต่อสุขภาพของสมอง

สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุดสำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้ คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลก จากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ ให้คุณได้อยู่ในสังคมหลากหลายวัยในโครงการ The Forestias พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.baycrest.org/Baycrest-Pages/News-Media/News/Research/Evidence-mounting-that-older-adults-who-volunteer

PUBLISHED : 1 ปีที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน