ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

โยคะบำบัด ลดความเครียด และภาวะวิตกกังวลที่ทำลายสมอง

โยคะบำบัด ลดความเครียด และภาวะวิตกกังวลที่ทำลายสมอง

ผู้ที่มีภาวะบกพร่องด้านการรับรู้ในระดับเริ่มต้น (mild cognitive impairment; MCI) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นอัลไซเมอร์ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และยังมีงานวิจัยที่เตือนว่า ความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นอีก หากพวกเขามี “ภาวะวิตกกังวล (anxiety)” ร่วมด้วย

การศึกษาที่พบว่า ภาวะวิตกกังวลจะเพิ่มความเสี่ยงของอัลไซเมอร์ ในผู้ที่มีภาวะบกพร่องด้านการรับรู้ในระดับเริ่มต้น หรือ MCI นี้ ได้ถูกรายงานในสื่อออนไลน์ในเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2014 ในวารสารวิชาการ “The American Journal of Geriatric Psychiatry” และได้รับการตีพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2015

ภาวะวิตกกังวล เพิ่มความเสี่ยงอัลไซเมอร์ ในผู้ที่มีภาวะบกพร่องด้านการรับรู้ในระดับเริ่มต้น (MCI)

โดยการนำของทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเบย์เครสต์ (Baycrest) ผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดา การศึกษาได้รายงานอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า “ภาวะวิตกกังวล” ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ MCI จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะการรับรู้ที่ลดลงเร็วขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้เป็นผลมาจาก “ภาวะซึมเศร้า (depression)” ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โดยผู้มีภาวะ MCI ที่มีอาการวิตกกังวลในระดับน้อย ปานกลาง และสูง จะมีความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นมากถึง 33% , 78% และ 135% ตามลำดับ

ทีมนักวิจัยยังพบอีกว่า ผู้มีภาวะ MCI ที่มีอาการวิตกกังวลเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาของการติดตามการรักษานั้น มีอัตราการเกิดการ “ฝ่อลีบ (atrophy)” ของ “สมองส่วนกลีบขมับ (medial tempera lobe)” ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในการสร้างความจำ และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันภาวะวิตกกังวล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของภาวะอัลไซเมอร์ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ MCI ก็ยังไม่เคยมีการศึกษาในระยะยาวที่แสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจน ว่าภาวะวิตกกังวลนั้นสร้างความเสียหายต่อการรับรู้และโครงสร้างสมองได้อย่างไร 

มีการศึกษาวิจัยเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ที่ระบุว่า ภาวะซึมเศร้าในช่วงอายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์ในอดีต ภาวะวิตกกังวลมักถูกรวมอยู่กับภาวะซึมเศร้าในทางจิตเวช ซึ่งภาวะซึมเศร้านั้นจะมีการตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพื่อประเมิน และติดตามผู้ป่วยในคลินิกสมองความจำ ตรงกันข้ามกับอาการวิตกกังวล ที่ไม่มีการตรวจประเมินและติดตามในคลินิก (ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการประเมินว่า มีภาวะวิตกกังวลหรือไม่ หรือมีมากน้อยเพียงใด)

ดร. ลินดา มาห์ นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์จากสถาบันวิจัย Baycrest และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต ซึ่งเป็นนักวิจัยหลักในการศึกษานี้ กล่าวว่า “การค้นพบของพวกเราชี้ให้เห็นว่า แพทย์ควรคัดกรองภาวะวิตกกังวลในผู้ที่มีปัญหาด้านความจำ เนื่องจากอาการวิตกกังวลเป็นหนึ่งในสัญญาณว่าคนเหล่านี้ มีความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์มากขึ้น” นอกจากจะเป็นนักวิจัยของสถาบันวิจัย Baycrest แล้ว ดร. มาห์ ยังเป็นผู้ร่วมวิจัยในการศึกษาวิจัยหลาย ๆ งานวิจัยที่เป็นการศึกษาร่วมกันของหลาย ๆ องค์กร นำโดยศูนย์สำหรับปัญหาการติดยาเสพติดและสุขภาพจิต (Centre for Addiction and Mental Health) และได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจากรัฐบาลกลางของประเทศแคนาดา (Brain Canada) เพื่อป้องกันภาวะอัลไซเมอร์ในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าในช่วงอายุที่มากขึ้นหรือผู้ที่มีภาวะ MCI ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปเป็นเป็นโรคสมองเสื่อมได้ในอนาคต

ดร. มาห์ ยังกล่าวอีกว่า “ในขณะที่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเผยแพร่ที่แสดงให้เห็นว่า การใช้ยารักษาอาการวิตกกังวลในทางจิตเวช อาจช่วยลดอาการวิตกกังวลในผู้ป่วยกลุ่มผู้ที่มีภาวะบกพร่องด้านการรับรู้ในระดับเริ่มต้น หรือช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่ แต่เราคิดว่าอย่างน้อยที่สุด ควรมีการแนะนำโปรแกรมในการจัดการกับพฤติกรรมความเครียดให้กับผู้ป่วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการศึกษาวิจัยก่อนหน้าที่พบว่า การจัดการความเครียดสามารถช่วยลดอาการวิตกกังวล และอาการทางจิตเวชอื่น ๆ ในผู้ป่วยภาวะอัลไซเมอร์ได้”

จากการศึกษาของ Baycrest ที่ได้ทำการเก็บรวบรวบข้อมูลจากประชากรผู้ใหญ่ จำนวน 376 คน ที่มีอายุระหว่าง 55 - 91 ปี เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของอาการวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้ากับการเปลี่ยนแปลงด้านความรับรู้ ความจำ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะได้รับการตรวจสอบทุก ๆ 6 เดือน ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกว่ามีภาวะ MCI มีคะแนนภาวะซึมเศร้าในระดับต่ำ ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าอาการวิตกกังวลไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้า

ภาวะ MCI ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงไปสู่โรคอัลไซเมอร์ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มีการประมาณการณ์ว่าชาวแคนาดากว่า 500,000 คนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีภาวะ MCI แม้ว่าหลายคนอาจจะไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยภาวะนี้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ผู้ที่มีภาวะ MCI ทุกรายจะมีการพัฒนาไปเป็นอัลไซเมอร์ บางรายอาจมีอาการคงที่ ไม่เป็นมากขึ้น หรือบางรายอาจมีการพัฒนาความสามารถด้านความจำและการเรียนรู้ที่ดีขึ้นได้

โยคะกับการลดความเครียด อาการวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า

จากการศึกษาของ ดร. มาห์ ที่พบว่าอาการวิตกกังวลในผู้ที่มีภาวะ MCI สามารถพัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น ดร. มาห์ จึงแนะนำให้มีการจัดโปรแกรมในการลดความเครียด ที่ได้มีงานวิจัยสนับสนุนมาแล้วว่าสามารถช่วยลดอาการวิตกกังวลได้ ซึ่งอาจทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยมีหลาย ๆ การศึกษาได้กล่าวว่า การฝึกโยคะมีผลในการช่วยลดความเครียดอาการวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร “International Journal of Preventive Medicine” ในปี 2018 โดยการศึกษานี้ได้ศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 26 – 39 ปี ผลจากการศึกษาพบว่าหลังจากที่มีการทำโยคะ 3 วัน/สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับของความเครียด อาการวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าลดลง

และยังมีการศึกษาที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ การวิจัยซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร “Journal of mental health training” ในปี 2017 โดยทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลของโยคะ ที่มีต่อการลดความเครียด อาการวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าการเล่นโยคะนั้น มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ฮอร์โมน รวมถึงสารสื่อประสาทต่าง ๆ ซึ่งไปมีผลทำให้มีการลดความเครียด อาการวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า และในทางจิตเวชยังพบอีกว่า การเล่นโยคะช่วยให้มี “การตระหนักรู้ตนเองที่เพิ่มขึ้น (self-awareness) ความยืดหยุ่นทางจิตวิทยา (psychological flexibility) การคิดบวกต่อภาวะเครียด ความสงบ ความเห็นอกเห็นใจและการมีสติ และอื่น ๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพจิต สุขภาพสมอง ความยืดหยุ่นของระบบประสาท และส่งผลดีต่อภาวะการับรู้ ความจำ อารมณ์ และยังช่วยลดอาการวิตกกังวลลงได้

โยคะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งมีผลดีต่อสมอง

จากการศึกษาหลาย ๆ การศึกษาข้างต้น การเล่นโยคะนั้นมีประโยชน์ในการควบคุมความเครียด ลดอาการวิตกกังวล และลดภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อการรับรู้ ความจำ และการทำงานของสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีภาวะบกพร่องด้านการรับรู้ในระดับเริ่มต้น หรือ MCI ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ภาวะนี้อาจพัฒนากลายไปเป็นอัลไซเมอร์ได้ในอนาคต ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า โยคะอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยู่ในช่วงอายุที่มากขึ้นที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาสุขภาพของสมอง พัฒนาการรับรู้ และความจำ เพื่อให้ห่างไกลจากภาวะอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมต่าง ๆ หรืออาจเป็นกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย การทำสมาธิ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งมีผลดีต่อสมองได้ ดังเช่นที่ ดร. ฮาวาร์ด ได้แนะนำไว้ในคลิปนี้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ต้องพบเจอกับความเครียดได้ตลอดเวลายิ่งถ้าอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ยิ่งทำให้มีความเครียดได้ง่ายขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมต่าง ๆ และการผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ จะช่วยลดปัญหานี้ลงได้

สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุดสำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

 

อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.baycrest.org/Baycrest-Pages/News-Media/News/Research/Anxiety-can-damage-brain-%E2%80%94-accelerate-conversion-t

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5843960/

https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/JMHTEP-01-2016-0002/full/html

PUBLISHED : 1 ปีที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน