ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

5 เช็กลิสต์ ตรวจภาวะเปราะบางเบื้องต้นในวัยอิสระ

5 เช็กลิสต์ ตรวจภาวะเปราะบางเบื้องต้นในวัยอิสระ

จากผลสำรวจในประเทศแคนาดา เมื่อประชากรมีอายุมากขึ้น ภาวะเปราะบางซึ่งมีความเสี่ยงต่อความเสื่อมถอยของสุขภาพจะกลายเป็นเรื่องที่สามารถพบได้บ่อยมากขึ้น โดยจากประมาณ 1 ใน 4 ของชาวแคนาดาที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 85 ปี

ซึ่งผู้สูงวัยที่อยู่ในภาวะเปราะบางมักมีภาวะร่วมหลายอย่างจึงต้องรับประทานยาหลายชนิด และอาจอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้เกิดความสับสน เพราะฉะนั้นแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเปราะบางจึงเป็นสิ่งสำคัญ(1)

ทำความเข้าใจเช็กลิสต์ 5 ข้อ ในการตรวจสอบภาวะเปราะบางในผู้สูงวัย(1)

เช็กลิสต์เบื้องต้นสำหรับแพทย์และผู้ให้บริการดูแลสุขภาพอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นในมุมของหน้าที่และเป้าหมายของการดูแล ซึ่งมักถูกมองข้ามในการดูแลผู้สูงวัย ซึ่งเช็กลิสต์ทั้ง 5 ข้อ ครอบคลุมหัวข้อสำคัญของการดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะเปราะบาง ได้แก่ อารมณ์และความรู้สึก, การขับถ่ายและการปัสสาวะ, การหกล้ม, การรับประทานยา และแนวทางในอนาคต

1. อารมณ์และความรู้สึก

ในขณะที่คณะทำงานป้องกันและดูแลสุขภาพของแคนาดาไม่แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้าเป็นประจำ แต่แพทย์แนะนำให้ระมัดระวังความเป็นไปได้ของภาวะซึมเศร้า โดยผู้สูงวัยที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังและแยกตัวออกจากสังคมมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า สังเกตเบื้องต้นได้จากการนอนไม่หลับ อารมณ์หดหู่และขาดความสุข ควรมีการเรียกตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม แต่ไม่แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองความบกพร่องทางสติปัญญาในผู้ที่ไม่มีอาการ อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งจำเป็นหากผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแล มีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการรับรู้ที่ลดลงหรือมีอาการของความบกพร่องทางสติปัญญาและความจำ ก็ควรเข้ารับการประเมินและติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องหมั่นสังเกตความเจ็บปวดของผู้สูงวัย เพราะผู้สูงวัยหลายรายอาจประเมินความเจ็บปวดของตัวเองต่ำไป

2. การขับถ่ายและการปัสสาวะ

50% ของผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 80 ปี มีปัญหาท้องผูกและอาจมีผลกระทบที่รุนแรงตามมา เช่น เป็นลมหมดสติ หลอดเลือดหัวใจหรือสมองขาดเลือด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และคุณภาพชีวิตลดลง ซึ่งอาการท้องผูกสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยสารออสโมติก และจากงานวิจัยยังพบอีกว่า ประมาณ 70% ของผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 70 ปี มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ลดลงเนื่องจากเกิดการระคายเคืองผิวหนังและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งปัญหาการขับถ่ายและการปัสสาวะเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเข้ารับบริการดูแลระยะยาวรองจากภาวะสมองเสื่อม

3. การหกล้ม

เนื่องจากการหกล้มเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บในผู้สูงวัยและอาจส่งผลร้ายแรงได้ เพราะฉะนั้นการประเมินกิจกรรมพื้นฐานและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อทำความเข้าใจว่าต้องมีการสนับสนุนในส่วนใดเพิ่มเติม และควรถามผู้สูงวัยเป็นประจำว่าพวกเขาเคยหกล้มในปีที่ผ่านมาหรือไม่ รวมถึงการประเมินและการรักษาการมองเห็น การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และการรับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

4. การรับประทานยา

ควรหมั่นตรวจสอบการรับประทานยาของผู้ป่วย (ทั้งที่สั่งจ่ายและไม่ได้สั่งจ่าย) ทำได้โดยการตรวจสอบขวดยา ปริมาณยา และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งการประเมินความสม่ำเสมอในการใช้ยาเป็นสิ่งสำคัญ คอยถามผู้ป่วยว่าพวกเขาลืมรับประทานยาแต่ละชนิดบ่อยแค่ไหน การทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเหตุผลในการใช้ยาแต่ละชนิดและสามารถปรับปรุงรูปแบบการรับประทานยาได้เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็น รวมถึงวางแผนเพื่อลดหรือหยุดยาที่อาจไม่เป็นประโยชน์หรือไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปเพื่อลดภาระและอันตรายจากการใช้ยา ในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยไปในตัว

5. แนวทางในอนาคต

ภาวะเปราะบางมักเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการพูดคุยเรื่องนี้เร็วกว่านี้ มีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะเปราะบางเพียง 2% ถึง 29% เท่านั้นที่ได้ปรึกษาเรื่องการดูแลในระยะสุดท้ายกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ไม่ว่าพวกเขาจะมีผู้มีอำนาจตัดสินใจแทนหรือไม่ การทราบเป้าหมายการดูแลผู้ป่วย (เช่น การบรรเทาอาการ การรักษาให้อาการดีขึ้น และการมีชีวิตอยู่ยาวนาน) จะช่วยเป็นแนวทางในการตัดสินใจร่วมกัน

เริ่มลงมือทำเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัยที่มีภาวะเปราะบาง(1)

การนำเช็กลิสต์ทั้ง 5 ข้อ สำหรับผู้ที่มีภาวะเปราะบางไปปฏิบัติจริง เช่น 

  1. การระบุความเสี่ยงในการล้มของผู้ป่วย
  2. การประเมินความปลอดภัยในบ้าน
  3. การตรวจสอบการมองเห็น
  4. การเสริมวิตามินดีและแคลเซียม
  5. การปรับในเรื่องของการรับประทานยาให้เหมาะสม

รวมถึงให้ผู้อยู่อาศัยยังได้เริ่มพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายของการดูแลและการระบุผู้มีอำนาจตัดสินใจทดแทน โดยเช็กลิสต์เหล่านี้ได้รับการพัฒนาเพื่ออธิบายหลักการในด้านผู้สูงวัย ให้กับผู้ที่อาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญในเชิงการแพทย์ เพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะเปราะบาง แม้ว่าการดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะเปราะบางเป็นเรื่องที่น่ากังวลและดูซับซ้อน แต่การใช้แนวทางตามเช็กลิสต์เหล่านี้สามารถช่วยลดความสับสนได้ และยังช่วยเพิ่มความมั่นใจการดูแลผู้ที่อยู่ในภาวะดังกล่าวได้อีกด้วย

ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest เราห่วงใย และใส่ใจรายละเอียดในการดูแลคุณตลอดชีวิตแบบครบวงจร

การจะดูแลผู้อยู่อาศัยในวัยอิสระนั้น มีหลายปัจจัยที่ควรศึกษาและใส่ใจเป็นพิเศษ นอกเหนือจากการที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพทั้งด้านร่างกาย สมอง และจิตใจของคนวัยอิสระ การได้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะยิ่งช่วยส่งเสริมให้วัยอิสระมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ มีความหมาย ปราศจากความกังวล ทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพ และชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

 

อ้างอิงข้อมูลจาก:

  1. Freedman, A., & McDougall, L. (2019). Frailty 5 Checklist: Teaching primary care of frail older adults. Can Fam Physician, 65(1), 74-76.
    Link: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6347321/pdf/0650074.pdf

PUBLISHED : 1 ปีที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน