ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

การศึกษาพบ!...ยานอนหลับอาจเป็นสาเหตุของสมองเสื่อม

การศึกษาพบ!...ยานอนหลับอาจเป็นสาเหตุของสมองเสื่อม

ไม่ว่าใครก็คงเคยมีปัญหานอนไม่หลับ ยิ่งเมื่อถึงวัย 50+ การนอนหลับให้สนิทตลอดคืนอาจเป็นเรื่องที่ยากขึ้น จนบ่อยครั้งอาจต้องอาศัยตัวช่วยอย่างยานอนหลับและข้อมูลในปัจจุบันเริ่มมีหลักฐานการศึกษาที่พบว่ายานอนหลับอาจส่งผลต่อสมอง

ปัญหานอนไม่หลับ

ปัญหานอนไม่หลับ หลับยาก หลับแล้วตื่นง่าย เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย สถิติจากกรมควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ใหญ่มากถึง 1 ใน 3 ของประชากรมีปัญหาการนอน และที่สำคัญปัญหานี้พบได้บ่อยขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ในส่วนของคนไทย สถิติจากกรมสุขภาพจิตสำรวจในปี พ.ศ. 2556 พบว่า ผู้สูงอายุในไทยประสบปัญหาการนอนหลับมากถึง 22% โดยอาการที่พบมีทั้งที่หลับยากหลับแล้วตื่นกลางดึก หลับไม่สนิท รู้สึกตัวตื่นบ่อยครั้ง เป็นต้น

ปัญหาการนอนเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะสุขภาพการนอนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจในหลายด้าน การนอนไม่พอไม่เพียงทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าไม่สดชื่นในวันถัดมา แต่ยังมีผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวจากการนอนไม่หลับเรื้อรัง เช่น เพิ่มความเสี่ยงโรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น นอกจากนั้นปัญหาการนอนยังส่งผลต่อสุขภาพจิต โดยพบว่า ผู้ที่มีปัญหาการนอนจะมีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าสูงกว่าคนปกติ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการค้นพบว่าในช่วงของการนอนหลับมีการชะล้างและกำจัดสารพิษในสมองที่สะสมมาจากช่วงเวลาที่เราตื่น ดังนั้นปัญหานอนไม่หลับจึงไม่ควรปล่อยไว้ให้เรื้อรัง แต่ควรปรึกษาจิตแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์

การใช้ยานอนหลับเพื่อแก้ปัญหานอนไม่หลับ

การใช้ยาเป็นวิธีแก้ปัญหานอนไม่หลับที่สะดวก ทำได้ง่าย และรวดเร็วเห็นผลได้ในไม่กี่นาที จึงไม่น่าแปลกใจที่การใช้ยาเพื่อช่วยให้หลับจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยยาที่ใช้จะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ เช่น
    • ยาในกลุ่ม benzodiazepines (BZD) ได้แก่ diazepam (ชื่อการค้า Valium®) alprazolam (ชื่อการค้า Xanax®) clonazepam lorazepam เป็นต้น
    • ยาในกลุ่ม non-benzodiazepines (Non-BZD/Z-drugs) ได้แก่ zolpidem (ชื่อการค้า Ambien®) zopiclone eszopiclone zaleplon เป็นต้น
    • ยาบางตัวในกลุ่ม antidepressant ได้แก่ trazodone
  2. ยาที่จำหน่ายในร้านขายยาที่มีฤทธิ์เสริมทำให้ง่วงนอนร่วมด้วย เช่น กลุ่มยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ได้แก่ diphenhydramine chlorpheniramine (CPM) doxylamine เป็นต้น
  3. อาหารเสริมที่ช่วยการนอนหลับ เช่น valerian melatonin เป็นต้น

โดยงานวิจัยที่สำรวจการใช้ยาในกลุ่มผู้เป็นโรคนอนไม่หลับ พบว่า 19% ใช้ยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ส่วนอีก 27% ใช้ยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ในร้านขายยา

การใช้ยานอนหลับเป็นวิธีแก้ปัญหาการนอนที่ได้ผลดีในระยะสั้น แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเป็นเดือนโดยไม่อยู่ในความควบคุมของแพทย์ เพราะยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ต่อสมอง การใช้ในระยะยาวจะส่งผลต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การติดยานอนหลับ ภาวะดื้อยาทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยา และยังเพิ่มความเสี่ยงการหกล้มหรืออุบัติเหตุอื่น ๆ และที่สำคัญยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงวัย

ยานอนหลับกับภาวะสมองเสื่อม

ยานอนหลับกับภาวะสมองเสื่อมเป็นประเด็นในการทำการศึกษาวิจัยที่มีความยากและต้องใช้เวลาในการศึกษาและเก็บข้อมูลอย่างยาวนาน เพราะว่าภาวะสมองเสื่อมมีการดำเนินของโรคนานหลายปีกว่าจะแสดงอาการให้เห็น และนอกจากนั้น ปัญหาการนอนหลับเองก็อาจเป็นอาการแรกเริ่มของภาวะสมองเสื่อม จึงเป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปให้ได้ว่า การใช้ยานอนหลับมีส่วนทำให้เกิดสมองเสื่อมหรือเพราะเริ่มมีอาการสมองเสื่อมจึงทำให้นอนไม่หลับและต้องใช้ยานอนหลับ คล้ายกับว่าเป็นปัญหาไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน

การศึกษาจึงต้องใช้การติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ที่ยังไม่มีภาวะสมองเสื่อมไปเป็นระยะเวลาหลายปีจนกว่าจะมีอุบัติการณ์ของสมองเสื่อมเกิดขึ้น โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2020 ได้ติดตามข้อมูลสุขภาพของชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 6,300 คน เป็นระยะเวลานาน 8 ปี พบว่า กลุ่มคนที่ใช้ยานอนหลับเป็นประจำ (ใช้ยาทุกคืนหรือเกือบทุกคืน) มีความเสี่ยงที่จะสมองเสื่อมในภายหลังมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำ และอีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2023 ก็ยืนยันผลเช่นเดียวกัน โดยเป็นการติดตามในกลุ่มผู้สูงวัยที่ยังไม่พบภาวะสมองเสื่อมจำนวน 3,068 คน เป็นระยะเวลา 15 ปี พบว่า กลุ่มที่ใช้ยานอนหลับบ่อยครั้งหรือเกือบทุกคืนมีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมสูงขึ้น 79% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้เลยหรือใช้แค่นาน ๆ ครั้ง โดยยานอนหลับที่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมมากที่สุด คือ ยาในกลุ่ม benzodiazepines ซึ่งเชื่อว่ากลไกก่อโรคอาจเกิดจากยาในกลุ่มนี้ไปรบกวนการทำงานของสารสื่อประสาทในกระบวนการเรียนรู้และความทรงจำ ในขณะเดียวกัน งานวิจัยทั้งสองนี้ยังพบว่า การใช้ยานอนหลับเป็นครั้งคราวไม่ส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อม

การหลีกเลี่ยงยานอนหลับเพื่อสุขภาพสมอง

การใช้ยานอนหลับแม้ว่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาการนอนไม่หลับที่ง่าย แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับโรคสมองเสื่อมในระยะยาว ยานอนหลับจึงควรใช้อย่างรัดกุม ใช้เป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์ การรักษาภาวะนอนไม่หลับจึงควรเริ่มต้นจากการค้นหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ และควรตรวจคัดกรองภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) โดยตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อประเมินถึงสาเหตุของปัญหาการนอนหลับ และเน้นใช้วิธีการรักษาที่ไม่ใช้ยา เช่น

  • จิตบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy; CBT)
  • ปรับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การสร้างสุขอนามัยในการนอน การฝึกสมาธิเพื่อผ่อนคลายจิตใจ เป็นต้น

หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรเริ่มใช้ melatonin ก่อน เพราะมีความปลอดภัยมากกว่ายานอนหลับ

สรุป

สุขภาพการนอนมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย จิตใจ และสมอง ปัญหานอนไม่หลับจึงต้องแก้ไขให้ตรงจุด ไม่ใช่เพียงแค่การใช้ยานอนหลับเพื่อรักษาอาการ เพราะการใช้ยานอนหลับติดต่อกันเป็นประจำทุกคืนเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อสมอง ไม่ว่าจะเป็นการติดยานอนหลับ หรือที่ยิ่งไปกว่านั้นอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม ในวัย 50+ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับอย่างต่อเนื่อง และควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ หรือลองใช้ทางเลือกการรักษาที่ไม่ใช้ยา

สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุดสำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ ให้คุณได้อยู่ในสังคมหลากหลายวัยในโครงการ The Forestias พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

PUBLISHED : 2 เดือนที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน