ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

แค่ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

แค่ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

แอลกอฮอล์เป็นสารเสพติดที่มนุษย์นิยมบริโภคมานานหลายศตวรรษ แม้จะรู้จักกันดีในด้านผลทางสังคมและความบันเทิง ช่วยสร้างบรรยากาศให้ปาร์ตี้สังสรรค์สนุกสนานขึ้น ช่วยในการเข้าสังคม หรืออาจช่วยผ่อนคลายความเครียด แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าการดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในระยะยาวแอลกอฮอล์ยังทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย และนอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังมีผลต่อสมอง โดยพบว่าอาจทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย

ผลของแอลกอฮอล์ต่อร่างกาย

ผลในระยะสั้นของแอลกอฮอล์ คือ ฤทธิ์โดยตรงของแอลกอฮอล์ที่ทำให้เราเมา เมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป จะถูกดูดซึมได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย แอลกอฮอล์จึงสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว การออกฤทธิ์จะขึ้นกับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด โดยอวัยวะที่เห็นผลจากแอลกอฮอล์ได้ชัดเจนก่อนส่วนอื่น คือ ระบบหลอดเลือด สมอง ไต และตับ

  • ระบบหลอดเลือด: แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด จึงทำให้หน้าแดง รู้สึกร้อนวูบวาบ และความดันเลือดลดลง
  • ไต: แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จึงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะมีสีใสจาง และเนื่องจากปัสสาวะบ่อยจึงมีแนวโน้มที่ร่างกายจะมีภาวะขาดน้ำ
  • ตับ: เป็นอวัยวะหลักในการสลายแอลกอฮอล์ ดังนั้นหากดื่มปริมาณมาก ตับก็จะทำงานมากตามไปด้วย

นอกจากนั้น อีกหนึ่งผลของแอลกอฮอล์ต่อร่างกาย คือ แอลกอฮอล์อาจทำให้มีอาการเมาค้างซึ่งมักเกิดจากการดื่มที่มากเกินไป

ในระยะยาว การดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ มากขึ้น เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง ไขมันพอกตับ ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ โรคตับแข็ง ตับอ่อนอักเสบ มะเร็งในช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ รวมถึงมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น

ผลของแอลกอฮอล์ต่อสมอง

ผลในระยะสั้น

แอลกอฮอล์จะกดการทำงานของสมอง ทำให้การควบคุมตนเองลดลง ลดการคิดกังวล มีการตัดสินใจและปฏิกิริยาตอบสนองที่ช้าลง แอลกอฮอล์ยังมีผลต่ออารมณ์ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจสนุกสนานร่าเริง แต่ในอีกคนอาจทำให้ก้าวร้าว หรืออาจโศกเศร้า หดหู่ก็เป็นได้ ยิ่งความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งมีผลกดสมองมากขึ้น และแสดงออกมาทั้งในด้านพฤติกรรมและการทำงานที่ไม่ประสานกัน เช่น พูดได้ช้าลง มองเห็นพร่าเลือน ทรงตัวลำบาก หรือไม่มีสติสัมปชัญญะการขับขี่ในขณะมึนเมาจึงเป็นอันตรายอย่างมากต่อทั้งตนเองและสังคม

ผลในระยะยาว

การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปสามารถทำให้เกิดภาวะ “blackout” ที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ซึ่งภาวะนี้คือ การสูญเสียความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะมึนเมา ภาวะนี้เกิดขึ้นเนื่องจากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากพอที่จะไปยับยั้งการถ่ายโอนความจำระยะสั้นให้กลายเป็นความจำระยะยาวชั่วคราว ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า “การรวบรวมความจำ” (memory consolidation) โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นในบริเวณสมองส่วนที่เรียกว่า “ฮิปโปแคมปัส” (hippocampus) ซึ่งเป็นสมองที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับความจำ

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองในระยะยาว ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของสมอง และอาจนำไปสู่การดื่มมากเกินไปและอาจกลายเป็นโรคติดสุราเรื้อรัง (AUD) การดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้การทำงานของสมองในด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเปลี่ยนไป และยังพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

แอลกอฮอล์กับภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม (dementia) คือ กลุ่มอาการที่แสดงถึงความเสื่อมถอยของความสามารถทางสติปัญญา (cognitive ability) และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้เอง (independent living) ภาวะสมองเสื่อมจึงส่งผลต่อความจำ ความคิด พฤติกรรม และความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันด้วยตัวเองได้

จากข้อมูลต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและความเสื่อมถอยของความสามารถทางปัญญา และในงานวิจัยเมื่อปี 2019 ที่รวบรวมองค์ความรู้จากงานวิจัยชนิดทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในหัวข้อ “แอลกอฮอล์กับภาวะสมองเสื่อม” พบว่า การดื่มเล็กน้อยถึงปานกลางในช่วงวัยหนุ่มสาวมีแนวโน้มช่วยลดความเสี่ยงของการถดถอยทางสติปัญญาและภาวะสมองเสื่อม แต่ในทางกลับกันการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินกลับเพิ่มความเสี่ยงของโรคทางสมอง โดยข้อมูลชี้ให้เห็นว่า การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักมีผลต่อโครงสร้างของสมองที่ให้สมองฝ่อเล็กลง นอกจากนี้ยังพบอาการที่แสดงถึงการถดถอยทางสติปัญญา และอาการต่าง ๆ ที่บ่งชี้ถึงภาวะสมองเสื่อม

ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้ห่างไกลภาวะสมองเสื่อม

จากผลของการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อมข้างต้น ดร.ฮาวเวิร์ด เชิร์ตโคว์ แห่งสถาบันวิจัย Rotman โดย Baycrest ผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาจึงได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มที่จะปลอดภัยต่อสมองว่า ควรดื่มไวน์ในปริมาณไม่เกินครึ่งแก้วต่อวัน หรือประมาณไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐาน (คือมีแอลกอฮอล์ 10 มิลลิลิตร) โดยหากเทียบเป็นเครื่องดื่มชนิดอื่นก็จะได้ปริมาณ ดังต่อไปนี้

  • เบียร์ (5% แอลกอฮอล์) คือประมาณไม่เกิน 1 กระป๋อง หรือ 1 ขวดเล็ก
  • สุรา (40% แอลกอฮอล์) คือประมาณไม่เกิน 1 แก้วชอต

สรุป

งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และยังส่งผลต่อความสามารถทางปัญญา ความทรงจำ อารมณ์ และพฤติกรรม การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำโดยเฉพาะในปริมาณที่มากเกิน เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมรวมถึงโรคอัลไซเมอร์

การดื่มแอลกอฮอล์อย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไปจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมและทำให้สุขภาพสมองดีในระยะยาวด้วย

สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุดสำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ ให้คุณได้อยู่ในสังคมหลากหลายวัยในโครงการ The Forestias พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde

อ้างอิง

PUBLISHED : 8 เดือนที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน