สมองของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทเป็นล้านเซลล์ ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับมา และทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี เพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมอง และสั่งการไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างเป็นระบบ แต่สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์เซลล์ประสาทจะถูกทำลายจนสูญเสียการทำงาน และส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และความจำ ดังนั้นหากเราเข้าใจกลไกและกระบวนการทำงานของสมองก็จะทำให้เราทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของสมอง และสามารถใช้ความรู้เหล่านี้ไปใช้สำหรับการปฏิบัติตัว และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้การทำงานของสมองเสียไป อีกทั้งยังสามารถชะลอความเสื่อมของสมองและยังช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย
เซลล์ที่สำคัญในสมอง
เซลล์ในสมองมีหลายชนิดแต่เซลล์ที่สำคัญที่สุดคือ “เซลล์ประสาท” (neuron cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างสมองกับส่วนต่างๆของร่างกาย และคอยควบคุมการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ยังมี “เกลียเซลล์” (glial cells) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สนับสนุน และปกป้องให้เซลล์ประสาทสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกลียเซลล์เป็นเซลล์ที่มีจำนวนมากที่สุดในสมอง และมีมากกว่าเซลล์ประสาทถึง 10 เท่า หนึ่งในชนิดที่สำคัญ คือ ไมโครเกลีย ซึ่งจะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเม็ดเลือดขาวในร่างกาย คือ ทำหน้าที่ในการทำลายสิ่งแปลกปลอมออกจากสมอง รวมถึงช่วยปกป้องเซลล์ประสาทไม่ให้ได้รับความเสียหายทั้งทางกายภาพและทางเคมี ดังนั้นเกลียเซลล์จำเป็นต้องทำงานร่วมกันกับระบบไหลเวียนเลือดภายในสมอง เพื่อช่วยในการควบคุมสมดุลที่ละเอียดอ่อนภายในสมอง ส่งผลให้เซลล์ประสาทและสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3 กระบวนการทางชีวภาพในสมอง ที่ช่วยในการเรียนรู้และความจำ
การเรียนรู้และความจำเป็นสิ่งสำคัญต่อกิจวัตรประจำวันของเราทุกคน ดังนั้นการทำความเข้าใจกระบวนการทางชีวภาพที่เกิดขึ้นในสมองก็จะช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้ โดย 3 กระบวนการทางชีวภาพที่เกิดขึ้นในสมองมีดังนี้
1. กระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท (neuronal communication)
เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดในการทำงานของสมอง โดยแต่ละเซลล์ประสาทจะส่งต่อข้อมูลจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง การส่งต่อข้อมูลนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้สมองของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าในเซลล์ประสาทของคนเรานั้นอาจมีการเชื่อมต่อ กับเซลล์ประสาทอื่น ๆ ได้มากถึง 7,000 จุด
2. กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร (neuronal metabolism)
เนื่องจากเซลล์ในสมองใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลา และใช้พลังงานสูงมากถึง 20% ของร่างกายทั้งหมด กระบวนการเผาผลาญพลังงานและการใช้สารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยพลังงานที่สมองใช้จะอยู่ในรูปของออกซิเจน และน้ำตาลกลูโคส ที่ได้จากระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้นสมองจึงเป็นอวัยวะที่ต้องการเลือดมาเลี้ยงมากที่สุดอวัยวะหนึ่ง และทนต่อภาวะการขาดเลือดได้น้อยที่สุด โดยสมองสามารถทนต่อการขาดเลือดได้เพียง 3-4 นาที ในขณะที่อวัยวะอื่น ๆ สามารถทนการขาดเลือดได้เป็นชั่วโมงหรืออาจหลายชั่วโมง (ขึ้นกับแต่ละอวัยวะ) ดังนั้นภาวะใด ๆ ก็ตามที่ทำให้มีภาวะสมองขาดเลือดจึงมีผลทำให้การทำงานของสมองแย่ลง
3. กระบวนการซ่อมแซม ปรับปรุง และการสร้างใหม่ (repair-remodeling-regeneration)
เป็นกระบวนการที่เซลล์ประสาทซ่อมแซมเซลล์ด้วยตัวเองเพื่อยืดอายุและทำให้เซลล์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เซลล์ประสาทเป็นเซลล์ที่มีอายุยืนยาวมาก เมื่อเทียบกับเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย กระบวนการซ่อมแซม ปรับปรุงและสร้างใหม่สามารถทำให้เซลล์ประสาทมีอายุได้ถึง 100 ปี และกระบวนการนี้ยังช่วยให้เซลล์ประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นกระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และความจำของมนุษย์
สมองและการเกิดโรคอัลไซเมอร์
สมองของคนที่มีสุขภาพดี เมื่อมีอายุมากขึ้นสมองจะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมเล็กน้อยตามธรรมชาติ แต่เป็นที่น่าสนใจว่าถึงแม้สมองจะมีขนาดเล็กลง แต่เซลล์ประสาทในสมองยังทำงานเป็นปกติ แตกต่างจากผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่จะมีการสูญเสียการทำงานและมีการทำลายเซลล์ประสาทเป็นจำนวนมาก ทำให้สมองทำงานผิดปกติไป โดยผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักจะมีการสูญเสียการทำงานของสมองส่วนความจำ (hippocampus) ก่อน และตามมาด้วยสูญเสียการทำงานของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ภาษา การใช้เหตุผล และพฤติกรรมทางสังคม (cerebral cortex) และในท้ายที่สุดก็จะสูญเสียการทำงานของสมองส่วนอื่น ๆ ตามมา ทำให้ผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์มักมีอาการด้านความจำแสดงให้เห็นเป็นอาการแรก ๆ และตามมาด้วยอาการด้านการใช้เหตุผล การใช้ภาษา และปัญหาเรื่องพฤติกรรมการเข้าสังคม และหากอยู่ในระยะรุนแรงจะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้จำเป็นต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด
ลักษณะสำคัญที่พบในโรคอัลไซเมอร์
สมองของผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์เกิดขึ้นหลาย ๆ อย่าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก ทำให้ไม่สามารถบอกได้จากการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามปกติ การยืนยันว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ทำได้โดยการเอาเนื้อเยื่อสมองมาตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยลักษณะสำคัญที่พบได้บ่อยภายในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีดังนี้
กลุ่มก้อนโปรตีนอะไมลอยด์ (amyloid plaques) โปรตีนอะไมลอยด์เป็นโปรตีนที่พบในสมอง ซึ่งหากมีการสะสมมากและจับกันเป็นก้อนอยู่ระหว่างเซลล์ประสาท จะไปขัดขวางการเชื่อมต่อและขัดขวางการทำงานของเซลล์ประสาท ในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะพบโปรตีนชนิดนี้มากกว่าคนปกติ
การศึกษาพบว่า การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอส่งเสริมให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ เพราะสมองมีกระบวนการกำจัดโปรตีนอะไมลอยด์ในช่วงนอนหลับ ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจึงทำให้มีการสะสมของโปรตีนอะไมลอยด์มากขึ้น ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่อาการรุนแรงจะมีการสะสมของโปรตีนชนิดนี้มากขึ้น และสะสมกระจายไปส่วนต่าง ๆ ของสมอง เป็นสาเหตุให้การทำงานของสมองเสียไป และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำของผู้ป่วยในที่สุด
หากคุณมีปัญหา “นอนหลับไม่เพียงพอ” อ่านเพิ่มเติม นอนอย่างไร ? ให้มีประสิทธิภาพและส่งผลดีต่อสุขภาพที่สุด
นิวโรไฟบริลลารีแทงเกิล (neurofibrillary tangles) เป็นความผิดปกติของโปรตีนชนิดหนึ่งในเซลล์ประสาทที่ชื่อว่าโปรตีนเทา (tau proteins) เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างให้กับเซลล์ประสาทและเกี่ยวข้องกับสื่อสัญญาณต่าง ๆ ภายในเซลล์ โดยในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีการจับกันเองของโปรตีนเทา จนเกิดเป็นเส้นใยที่ผิดปกติและไปขัดขวางสื่อสัญญาณต่าง ๆ ทั้งการสื่อสารภายในเซลล์ประสาท และการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทด้วย
การอักเสบเรื้อรังภายในสมอง (chronic inflammation) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีการสะสมของโปรตีนอะไมลอยด์ภายในสมองทำให้การทำงานของสมองเสียไป นอกจากการขัดขวางการทำงานของเซลล์ประสาทแล้ว โปรตีนอะไมลอยด์จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบภายในสมองด้วย ซึ่งสารอักเสบเหล่านี้เป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาท ดังนั้นในสมองของผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีสารอักเสบต่าง ๆ อยู่มากและเกิดการอักเสบสะสมเรื้อรังเป็นเวลานาน ส่งผลให้การทำงานของสมองแย่ลง และมีอาการของโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้นการศึกษากระบวนการทำงานของสมองและกลไกการเกิดอัลไซเมอร์ รวมไปถึงการทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุ จะช่วยให้เรานำความรู้นี้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของสมอง และสุขภาพร่างกายที่ดี ให้คุณใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์
สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุดสำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร
ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ
พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพสมองและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม
ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree
โทร. 1265
LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde
เอกสารอ้างอิง
https://www.nia.nih.gov/health/what-happens-brain-alzheimers-disease
https://mqdc.com/th/aspentree/society/health/123/comfortable-sleeping-environment