การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขจำเป็นต้องมีองค์ประกอบร่วมกับหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านร่างกาย จิตใจ ความเป็นอยู่ และรวมไปถึงการใช้ความคิด การรับรู้ การเรียนรู้ การตัดสินใจต่าง ๆ เพราะความคิดและความสามารถทางการรู้คิดหรือความสามารถในกระบวนการทางสติปัญญาส่งผลโดยตรงต่อการเลือกตัดสินใจ และพฤติกรรมต่าง ๆ
สุขภาวะทางการรู้คิด (สติปัญญา) คืออะไร?
การรู้คิด (cognition) หมายถึง รูปแบบการทำงานของสมองในด้านกระบวนการทางสติปัญญา (intelligence) ซึ่งประกอบด้วย การรับรู้ การคิดสร้างสรรค์ การทำความเข้าใจ การใช้ตรรกะและเหตุผล การตัดสินใจ การวางแผน ความทรงจำ และการแก้ปัญหา
สุขภาวะทางการรู้คิด/สติปัญญา (Intellectual/Cognitive Wellness) จึงหมายถึง ความสามารถทางสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทักษะด้านการเรียนรู้ การใช้เหตุผล การตัดสินใจ การเผชิญกับปัญหารวมไปถึงการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งความสามารถนี้สามารถพัฒนาได้ในทุกช่วงอายุ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุข
สุขภาวะทางการรู้คิด (สติปัญญา) มีความสำคัญอย่างไร?
สุขภาวะทางการรู้คิดมีบทบาทสำคัญในรับรู้ เรียนรู้ การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ผู้ที่มีสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีจะสามารถรับรู้ เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถประมวลผล คิด วิเคราะห์ สามารถแยกแยะเรื่องจริงและเรื่องไม่จริงออกจากกันได้ สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ อีกทั้งยังจะมีความอยากรู้อยากเห็น พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
สุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีจึงมีประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างกระบวนการทางการรับรู้และสติปัญญาซึ่งจะทำให้สามารถวางแผน แก้ปัญหา และคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม ในแง่มุมด้านสุขภาพ ผู้ที่มีสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดี จะสามารถตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ชีวิตความเป็นอยู่ สามารถวางแผนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพทุกมิติได้ในระยะยาว
นอกจากนั้น สุขภาวะทางการรู้คิดที่ดียังมีผลดีต่อสังคม เพราะผู้ที่มีสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีจะสามารถแบ่งปันความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย
สุขภาวะทางการรู้คิด (สติปัญญา) ที่ดีควรเป็นอย่างไร?
สุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีประกอบไปด้วยคุณลักษณะหลายประการ ดังต่อไปนี้
- เชื่อมั่นในความสามารถที่จะเรียนรู้ของตนเอง
- กล้าเปิดรับและปรับตัวกับประสบการณ์และแนวคิดใหม่ ๆ ในทุกมิติและทุกช่วงวัยของชีวิต
- มีการพัฒนาความสามารถทางการรู้คิดอยู่เสมอ ทั้งในด้านการคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ ฝึกสมาธิ ตั้งใจจดจ่อ ทำความเข้าใจ ประเมิน แก้ปัญหา คาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงสรุปองค์รวมรวบยอดความคิด และมีความสุขกับหลากหลายกิจกรรมการฝึกสมองต่าง ๆ
- มีความสามารถทางสติปัญญา และมีความรู้ความเข้าใจตนเองตามความเป็นจริง ยอมรับในสิ่งที่ยังไม่รู้ และมองเห็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
- มีการพัฒนาทักษะในด้านวิชาการ การเรียน การบริหารเวลา การจัดการความเครียด การจดบันทึก การใช้ภาษา การฟัง และการพูดอย่างสร้างสรรค์
- รักการเรียนรู้ พึงพอใจเมื่อได้รับความรู้ใหม่ ๆ และมีแนวคิดที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
สุขภาวะทางการรู้คิด (สติปัญญา) สร้างได้อย่างไร?
การสร้างสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีควรเริ่มต้นที่การรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพราะทั้งสองอย่างนี้คือรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพสมองที่ดี การหมั่นดูแลสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การตรวจสุขภาพประจำปี หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีการเจ็บป่วยต่าง ๆ รวมไปถึงการรักษาสุขภาพจิตใจให้แข็งแรงก็จะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีได้
ซึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีจะต้องควบคู่ไปกับสุขภาพสมองที่ดีด้วย ซึ่งแนวทางในการสร้างสุขภาพสมองที่ดีจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เป็นพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ โดยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ค้นพบหลักสำคัญ 6 ข้อ ที่สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- รับประทานผักผลไม้ให้มากเพียงพอ โดยให้ผักและผลไม้มีสัดส่วนมากที่สุดในแต่ละมื้ออาหาร
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ผ่อนคลายความเครียด และจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
- รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนใกล้ชิดและสังคมรอบข้าง
- ใช้สมองในการคิดและเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ มองหาโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
โดยหลักของการรักษาสุขภาพสมองเพื่อให้มีสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีนี้ ต้องอาศัยการทำควบคู่กันไปในทั้ง 6 ข้อ เพราะการปฏิบัติในแต่ละข้อจะส่งผลสอดคล้องและส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของสมองที่ดีที่สุด
สรุป
สุขภาวะทางการรู้คิด เป็นอีกมิติหนึ่งของการมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งส่งผลถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม ซึ่งการมีสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีจะช่วยส่งเสริมการรับรู้ เรียนรู้ การวิเคราะห์ การคิดแยกแยะ การวางแผน และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ การเลือกวิถีการดำเนินชีวิต รวมไปถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดี ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และความเป็นอยู่ต่าง ๆ
ซึ่งการมีสุขภาวะทางการรู้คิดที่ดีสามารถสร้างได้ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข และให้ความรู้สึก มั่นใจ และมีอิสระในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
สุขภาพกาย จิตใจ สมองที่แข็งแรง คือของขวัญของที่ดีที่สุดสำหรับวัย 50+ ที่ The Aspen Tree The Forestias Operated by Baycrest พร้อมดูแลตลอดชีวิตแบบครบวงจร
ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และของขวัญที่ล้ำค่าของคนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความหมาย ปราศจากความกังวล และทั้งหมดนี้คือแนวคิดที่ The Aspen Tree The Forestias ได้ร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้นำด้านการวิจัย และดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดาอย่าง Baycrest ในการเติมเต็มทุกความต้องการ ให้คุณได้อยู่ในสังคมหลากหลายวัยในโครงการ The Forestias พร้อมบริการด้านสุขภาพและการดูแลครบวงจร (Holistic Lifetime Care) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ผสานกับโปรแกรม Health & Wellness ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของวัยอิสระ อาทิเช่น โยคะ ว่ายน้ำ ร้องเพลง เล่นดนตรี นั่งสมาธิ กิจกรรมกลางแจ้ง ธาราบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และสมองของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ
พื้นที่โครงการ The Aspen Tree The Forestias ยังมี Health & Brain Center ที่คอยให้บริการด้านสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณอุ่นใจ และมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม
ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree
โทร. 1265
LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3Emhkde
อ้างอิง
- https://cambridgecognition.com/what-is-cognition/
- https://www.northwestern.edu/wellness/8-dimensions/intellectual-wellness.html
- https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2022/02/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AA_compressed.pdf
- https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/six-steps-to-cognitive-health